เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Graphic Design for Packaging (ARTD3302, ARTI3314) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. Lecturer : Asistant Professor Prachid Tinnabutr Art Department ,Chandrakasem Rajabhat University,Thailand.
Friday, October 7, 2011
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์สุดท้าย ภาคเรียนที่1/2554 ของวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
Monday, October 3, 2011
สัปดาห์ที่ 16 การนำเสนอโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปข้าวโพดหวานกาญจนบุรี
นักศึกษากลุ่ม 101 ภาคปกติ ที่เข้าสู่กระบวนการประเมินผล Final Project
การนำเสนอโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปข้าวโพดหวานกาญจนบุรี
กลุ่ม 201 ภาคนอกเวลาที่เข้าสู่กระบวนการประเมินผล Final Project
Saturday, October 1, 2011
ตัวอย่างไฟล์การนำเสนอผลงานด้วย Google Presentation โครงการออกแบบส่วนบุคคล
ตัวอย่างการนำเสนอเผยแพร่และตัวอย่างไฟล์สไลด์การนำเสนอผลงานโครงการออกแบบส่วนบุคคลของ Final Project ตามหลักการดำเนินงานออกแบบ 3ส:3R เมื่อสร้างจาก GooglePresentation เสร็จแล้ว ให้คลิกใช้ด้วยคำสั่ง แบ่งปัน>เผยแพร่/รวม แล้วนำโค้ด iFrame ไปโพสต์ในบล็อกของตัวเองพร้อมนำเสนอเผยแพร่ได้ทั่วโลกทันที
สไลด์ไฟล์ตัวอย่าง เผยแพร่-แบ่งปันต่อจากไฟล์นำเสนอของคุณวีนัส อ่ำสุ่น กลุ่มเรียน 201 ภาคนอกเวลา
Final Design Project: ส3.(Results)การสรุปและเผยแพร่ แสดง-แบ่งปัน ผลงานโครงการออกแบบส่วนบุคคลของนักศึกษา ในเว็บไซต์ issuu.com
Final Design Project: ส3.(Results) การสรุปและเผยแพร่ แสดง-แบ่งปัน ผลงานโครงการออกแบบส่วนบุคคลของนายอานนท์ ทองรอด กลุ่มเรียน 101 ภาคปกติ ในเว็บไซต์ issuu.com ดูผลงานของนักศึกษาที่ส่งงานได้ในกลุ่มหน้าเว็บ Packaging Design นี้
และในสัปดาห์สุดท้ายครั้งที่ 16 เป็นการสรุป แสดง แบ่งปันผลงานและการเรียนรู้ การสรุปภาคเอกสารสาระการเรียนรู้ในเว็บบล็อกของแต่ละคน ทุกอย่างในครึ่งเทอมแรกและในครึ่งเทอมหลังให้เพื่อนๆและชาวโลกได้ทราบและรู้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ที่ได้รอดผ่านเข้ารอบมาให้ผู้สอนได้ประเมินผลงานและให้เกรดในสัปดาห์สุดท้ายนี้ และมีการสอบปลายภาคเรียนในชั้นเรียน ที่ระบบอีเลิร์นนิ่งของ www.clarolinethai.info
และในสัปดาห์สุดท้ายครั้งที่ 16 เป็นการสรุป แสดง แบ่งปันผลงานและการเรียนรู้ การสรุปภาคเอกสารสาระการเรียนรู้ในเว็บบล็อกของแต่ละคน ทุกอย่างในครึ่งเทอมแรกและในครึ่งเทอมหลังให้เพื่อนๆและชาวโลกได้ทราบและรู้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ที่ได้รอดผ่านเข้ารอบมาให้ผู้สอนได้ประเมินผลงานและให้เกรดในสัปดาห์สุดท้ายนี้ และมีการสอบปลายภาคเรียนในชั้นเรียน ที่ระบบอีเลิร์นนิ่งของ www.clarolinethai.info
Arti3314 week 15 practical and post test วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สัปดาห์แห่งการสอบภาคปฏิบัติและทำแบบทดสอบหลังการเรียน
Arti3314 week 15 practical and post test วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สัปดาห์แห่งการสอบภาคปฏิบัติและทำแบบทดสอบหลังการเรียน ส่งงานต้นแบบร่างออกแบบบรรจุภัณฑ์มะกอกดอง และแบ่งปันไฟล์ให้ดาวน์โหลดฟรีไว้ที่ Google3DWarehouse ลองใช้คำสืบค้นว่า arti3314 ดูครับ
โจทย์และกิจกรรม เสร็จแล้วทำแบบทดสอบออนไลน์ที่ www.clarolinethai.info
โจทย์และกิจกรรม เสร็จแล้วทำแบบทดสอบออนไลน์ที่ www.clarolinethai.info
Thursday, September 22, 2011
ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้จริงในวิชา arti3314 ภาคเรียนที่ 1/2554
Wednesday, September 14, 2011
ผศ.ประชิด ทิณบุตร นำผลงานของนักศึกษาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ไปร่วมแสดงนิทรรศการประชุมสัมมนาของคลัสเตอร์ข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี
Monday, September 5, 2011
Tuesday, August 30, 2011
Week11, ส2. Resume สร้างสมมติฐานให้ปรากฏจากแบบร่างเป็นงาน Concept Rendering
ภาพบันทึกการตรวจและติดตามการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่เป็นข้อตกลง สัปดาห์ที่ 10
ภาพบันทึกการตรวจและติดตามการสร้างสรรค์ผลงานแบบรายบุคคล ของรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ final design project : kanchanaburi sweet corn product adaptation, preliminary research stage : ขั้นตอน ส1.การสืบค้น เริ่มต้นสร้างแนวคิด ทุกท่านดูแล้วคงเข้าใจได้ว่านักศึกษาแต่ละคน มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่งานระดับใด กรรมก็คือการกระทำ แต่หากไม่ทำกรรมก็จะตามสนอง...ครับ
Saturday, August 27, 2011
Green Choice Vendors Food Service Catalog ข้อมูลรูปแบบบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารและการบริการที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลรูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร(Food Package) ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพ(Bioplastic) เช่นการสกัดจากข้าวโพดและวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การอำนวยความสะดวก เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการสำหรับนักศึกษาที่เรียนทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งต้องรู้จักโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์(Packaging Structure)เช่น ประเภทของบรรจุภัณฑ์(Types of Package)รูปแบบบรรจุภัณฑ์(Form of Packaging)วัสดุบรรจุภัณฑ์(Packaging Materials) และศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง(Glossary of Packaging Terminology)เพื่อการระบุหรือเขียนแบบสื่อสารในแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ และยังเป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอันเกี่ยวข้องกับพื้นที่ของการที่จะการจัดวางข้อมูลและกราฟิก(Graphic & Printing Area)สำหรับบรรจุภัณฑ์(Graphic for Packaging)เพื่อสร้างอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ให้แก่บรรจุภัณฑ์นั่นเอง
Thursday, August 25, 2011
คลิปวิดีโอการสอนเรื่อง หลักการดำเนินงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามแนวทาง 3ส:3R
คลิปวิดีโอการสอนเรื่อง หลักการดำเนินงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามแนวทาง 3ส:3R โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร ภาคเรียนที่ 1/2554
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Prachid Tutorials : Design Direction from prachid tinnabutr on Vimeo.
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Tuesday, August 23, 2011
ขั้นตอน ส1.การสืบค้น ตัวอย่างแบบบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ที่นักศึกษาควรนำไปศึกษาดัดแปลงและปรับปรุงเป็นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับโจทย์งาน
ตัวอย่างแบบกล่องและบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ ที่ควรนำไปศึกษาแนวคิด วเคราะห์การออกแบบจัดวางแบบกราฟิกและรูปแบบโครงสร้าง เพื่อการนำไปดัดแปลงและปรับปรุงเป็นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับโจทย์ของเรา ให้ตรงประเด็น อย่ารอช้า อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ลงมือตัดแบบ วัดแบบ ขยับขยาย ยักย้าย ถ่ายเท คัดสรรความรู้ สิ่งดีเป็นมาตรฐานนี้เอาไว้ ใส่กราฟิก โลโก้ ลวดลาย Drawing วิเคราะห์ข้อมูลที่เห็นและที่จำเป็นต้องใช้ ต้องมี ใส่ลงไป แล้วเขียนแบบ ใหม่ ทำอาร์ตเวิร์คใหม่ หรือขึ้นรูปทำ 3 D ดูซิว่า เราทำได้หรือไม่ ถ่ายรูปหรือบันทึกหลักฐานการศึกษาทดลองเอาไว้เป็นขั้นเป็นตอนตามหลักการออกแบบที่อาจารย์สอน ทำตามขั้นตอนให้ได้ก่อน ทำไว้หลายๆแบบ ติดขัดอะไรก็นำเข้าห้องเรียนไปปรึกษาอาจารย์ทุกครั้ง Workshop learning เริ่มแล้ว ไม่ใช่เดินตัวเปล่า ลอยชายเข้าห้องเรียน ทำเฉยและอ้างว่าลืม... มุขเดิมๆใช้กับการเรียนวิชาของ อ.ชิดไม่ได้แล้วนะครับ แป็กมานักต่อนักแล้ว
ดู presentation 3D จากหน้าเว็บของ estudiocps.com
ดู presentation 3D จากหน้าเว็บของ estudiocps.com
Sunday, August 21, 2011
สัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป เริ่มติดตามงาน final design project เป็นรายบุคคล ตามขั้นตอน 3ส : 3R
นับแต่สัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป เริ่มติดตามงาน final project เป็นรายบุคคล ตามขั้นตอน 3 ส: 3R มีกิจกรรมทำ workshop และเก็บคะแนนในชั่วโม งเรียนทุกครั้ง ดังนั้น อย่าขาดเรียนและอย่ามา เรียนแบบมือเปล่า ต้องมีผลงานและอุปกรณ์ ทำงาน เครื่องเขียนติดมือมา ด้วย เสนอความก้าวหน้าทุกค รั้ง การที่ทำงานส่งออนไลน์ นั้น คราวนี้ไม่พอ ต้องเอาหลักฐานและผลงา นจริงมาแสดงและนำเสนอ ต่ออาจารย์ด้วยทุกครั้ ง สรุปบล๊อกทุกสัปดาห์
การเริ่มทำงานนั้นควรต้องศึกษาทั้งจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จริง ที่มีอยู่ในท้องตลาดแบบมาตรฐานว่ามีองค์ประกอบทางโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง เริ่มอย่างไร (How to start packaging design project) ก้มีวิธีการเริ่มต้นตามขั้นตอนที่1 ของวิธีการสืบค้น ส.1(Research) ดังเช่น
1.ศึกษาสำรวจ(Preliminary Research & Investigation)และจัดหาผลิตภัณฑ์ตามโจทย์ที่ตั้งให้และตามที่ต้องการนำมาเป้นโจทย์ หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมประเด็นปัญหา ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาระงานของนักออกแบบที่จะต้องทำงานก็คือ การออกแบบและหรือการพัฒนาแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง(Package Structural)หรืองานทางกราฟิกนั่นเอง(Graphics on Package)โดยที่ต้องมีความรู้และทฤษฎีมารองรับหรืออ้างอิงประกอบอย่างเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องทางวิชาการหรือการเรียนรู้ที่มีจรรยามารยาท และรู้จักรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองและผู้อื่น
2.การศึกษาวิเคราะห์สถานะของผลิตภัณฑ์(Product Analysis & Situations Study)ที่นำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง โดยใช้ทฤษฏีและหลักการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาเป็นเกณฑ์เพื่อจำแนกแยกแยะ วิเคราะห์ตามชนิดและประเภทจากสิ่งที่สังเกตุและบันทึกเป็นหลักฐานได้จริง ด้วยการใช้ทักษะทั้งวิถีทางของศิลปิน นักออกแบบ นักการตลาด นักสำรวจและนักวิจัย มาบูรณาการเข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือและฝีมือ ผ่านกระบวนการบันทึก จัดเก็บ แสดงและค้นคืนได้ด้วยทักษะการจัดการงานทางระบบสารสนเทศเสริมเติมเต็มเข้าไปให้สมบูรณ์ เช่นใช้โปรแกรมฟรีของ GoogleDocs, GoogleChrome Apps, Google+ ,Blogspot.com บันทึกการเรียนรู้ส่วนตัวที่อาจารย์สอนให้ หรือแม้กระทั่งใช้ Facebook ให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนรู้และสร้างโปรไฟล์ของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
การเริ่มทำงานนั้นควรต้องศึกษาทั้งจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จริง ที่มีอยู่ในท้องตลาดแบบมาตรฐานว่ามีองค์ประกอบทางโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง เริ่มอย่างไร (How to start packaging design project) ก้มีวิธีการเริ่มต้นตามขั้นตอนที่1 ของวิธีการสืบค้น ส.1(Research) ดังเช่น
1.ศึกษาสำรวจ(Preliminary Research & Investigation)และจัดหาผลิตภัณฑ์ตามโจทย์ที่ตั้งให้และตามที่ต้องการนำมาเป้นโจทย์ หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมประเด็นปัญหา ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาระงานของนักออกแบบที่จะต้องทำงานก็คือ การออกแบบและหรือการพัฒนาแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง(Package Structural)หรืองานทางกราฟิกนั่นเอง(Graphics on Package)โดยที่ต้องมีความรู้และทฤษฎีมารองรับหรืออ้างอิงประกอบอย่างเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องทางวิชาการหรือการเรียนรู้ที่มีจรรยามารยาท และรู้จักรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองและผู้อื่น
2.การศึกษาวิเคราะห์สถานะของผลิตภัณฑ์(Product Analysis & Situations Study)ที่นำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง โดยใช้ทฤษฏีและหลักการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาเป็นเกณฑ์เพื่อจำแนกแยกแยะ วิเคราะห์ตามชนิดและประเภทจากสิ่งที่สังเกตุและบันทึกเป็นหลักฐานได้จริง ด้วยการใช้ทักษะทั้งวิถีทางของศิลปิน นักออกแบบ นักการตลาด นักสำรวจและนักวิจัย มาบูรณาการเข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือและฝีมือ ผ่านกระบวนการบันทึก จัดเก็บ แสดงและค้นคืนได้ด้วยทักษะการจัดการงานทางระบบสารสนเทศเสริมเติมเต็มเข้าไปให้สมบูรณ์ เช่นใช้โปรแกรมฟรีของ GoogleDocs, GoogleChrome Apps, Google+ ,Blogspot.com บันทึกการเรียนรู้ส่วนตัวที่อาจารย์สอนให้ หรือแม้กระทั่งใช้ Facebook ให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนรู้และสร้างโปรไฟล์ของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
Tuesday, August 16, 2011
สัปดาห์ที่ 9 เริ่มงานออกแบบส่วนบุคคลโครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน
นับแต่สัปดาห์ที่ 9 นี้เป็นต้นไป เริ่มงานโครงการออกแบบส่วนบุคคล โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และกราฟิกบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ภายใต้การนิเทศและการประเมินผลเป็นรายบุคคล (Final Project)โดยให้นักศึกษาศึกษาตัวอย่างการดำเนินงานตรามขั้นตอนการออกแบบที่เป็นงานวิจัยและบริการชุมชนของจังหวัดกาญจนบุรี ได้ที่เว็บบล็อกของอาจารย์ ชื่อเว็บ การออกแบบและพัฒนาตราสัญลักษณ์เครือข่ายวิสาหกิจข้าวโพดหวาน กาญจนบุรี โครงการยกระดับขีดความสามารถการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี ปีงบประมาณ 2554 โดยที่นักศึกษาต้องเริ่มทำงานตามขั้นตอน 3 ส:3 R และตามกระบวนการออกแบบ โดยต้องมีการแสดงออกให้เห็นถึงกระบวนการคิดวิเคราะห์และการสร้างสรรค์ผลงานนับแต่ตั้งต้นคิด ประกอบด้วยการใช้ทักษะฝีมือ แสดงทักษะการเขียนสรุปภาคเอกสารวิชาการ ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และทักษะการใช้งานโปรแกรมทางดิจิตัลมีเดีย เพื่อช่วยคิดและช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกต้องตามระบบการผลิต เยี่ยงนักออกแบบฝึกหัด กระทั่งได้ผลงานต้นแบบสำเร็จจริงออกมา ที่สามารถนำเสนอ เผยแพร่เป็นแฟ้มผลงานแห่งตนเองได้ ทั้งนี้ให้เริ่มนำเสนอความก้าวหน้าตามลำดับขั้นตอนเป็นรายสัปดาห์ ให้แล้วเสร็จภายใน 7 สัปดาห์ นับแต่สัปดาห์ที่ 9 นี้เป็นต้นไป โดยที่อาจารย์จะทำหน้าทีเสมือน Managing/Art Director ในสถานประกอบการจริง ที่เรียกตรวจและติดตามการทำงานของนักออกแบบ ทำการสอนการใช้เครื่องมือที่หลากหลายให้รู้จักปรับประยุกต์เลือกใช้ ให้คำปรึกษางานเชิงเทคนิคและวิพากษ์ เพื่อการปรับแก้ให้ถูกต้อง และรับรองว่าครึ่งเทอมหลังนี่อาจารย์จัดเต็มให้เลย...ด้วยความยินดี
Monday, August 15, 2011
สัปดาห์ที่ 8 หยุดสอบกลางภาคและสรุปงานครึ่งเทอมแรก
ในสัปดาห์ที่ 8 เป็นช่วงการสอบกลางภาคเรียน จึงหยุดเรียนเพราะเป็นประกาศสอบของมหาวิทยาลัย และอาจารย์กต้องไปคุมสอบวิชาอื่นๆ จึงให้นักศึกษาเร่งสรุป-แก้ไขงานจัดสรุปเอกสารส่งใน Issuu.com และแก้ไขงานให้ดูอีกครั้ง ก่อนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดของ thaistar2011สำหรับกลุ่มที่มีแววว่าน่าจะพอจัดส่งได้ และช่วง 5-11 สิงหาคม เป็นช่วงที่แจ้งให้นักศึกษาทราบว่าอาจารย์จะตรวจงานและทำให้เสร็จก่อนวันที่ 11 สิงหาคม
ผลการตรวจให้คะแนนผลงานแต่ละชิ้น ก็ได้แชร์แจ้งให้ทราบนับแต่ต้นเทอมแล้ว ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนทุกอย่าง ใน googledocs ในเอกสาร spreadsheet ของทุกวิชาที่อาจารย์สอน และสำหรับผู้ที่หมดสิทธิ์สอบเพราะขาดเรียนเกิน 80% ไม่ส่งงานใดๆ ไม่เข้าสอบกลางภาคเรียน ก็คงทราบแล้วเองว่าควรต้องไปถอนวิชาหรือไม่หรือต้องเข้าชี้แจงแสดงหลักฐานขอคืนสิทธิ์ที่ตนเองควรจะได้อย่างไร
สรุปคะแนนแล้ว ตามที่ปรากฏในแบบบันทึกการวัดและประเมินผล ซึ่งจะไม่มีการตรวจรับ-ส่งผลงานย้อนหลังดังที่อาจารย์แจ้งไว้แต่ต้นแล้ว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักศึกษากลุ่มใดๆส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงาน thaistar2011 ในครั้งนี้ ซึ่งก็น่าเสียดายที่นักศึกษาไม่มีความพยายามและเห็นความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้มอบหมายให้ในครึ่งเทอมแรกนี้ และเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่า การทำกิจกรรมกลุ่มงานออกแบบในครั้งนี้ล้มเหลว โดยมีมากกว่า 95% ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ผู้เรียนลงทะเบียนวิชานี้ มี 4 กลุ่มเรียน ร่วม 118 คน แบ่งกลุ่มนำเสนองานเพียง 32 กลุ่ม(ไม่เกิน 3 คน) มีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมินกิจกรรมนี้เพียง 15 คน ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของผู้เรียนและความรับผิดชอบงานในฐานนะของผู้ที่คิดว่าจะจบการศึกษาออกไปเป็นนักออกแบบยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อตรวจสอบจำนวนผู้เรียนตามเกณฑ์เวลาเรียนไม่ถึง 80% แล้วจะต้องมีผู้ตกวิชานี้มากกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลงทะเบียนแน่นอน
แนะนำว่าในครึ่งเทอมหลังให้นักศึกษาเข้าอ่านสาระบล็อกของวิชานี้ด้วยนะครับว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้ ของบัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมจันทรเกษม คืออะไร โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มเรียน 103 หรืออีกฉายาหนึ่งซึ่งต่อไปจะตั้ืงชื่อให้ว่าเป็น นักศึกษามือเปล่า ที่ต้องการทำ hattrick ให้เล่าขานเป็นตำนานไว้สืบไป
ผลการตรวจให้คะแนนผลงานแต่ละชิ้น ก็ได้แชร์แจ้งให้ทราบนับแต่ต้นเทอมแล้ว ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนทุกอย่าง ใน googledocs ในเอกสาร spreadsheet ของทุกวิชาที่อาจารย์สอน และสำหรับผู้ที่หมดสิทธิ์สอบเพราะขาดเรียนเกิน 80% ไม่ส่งงานใดๆ ไม่เข้าสอบกลางภาคเรียน ก็คงทราบแล้วเองว่าควรต้องไปถอนวิชาหรือไม่หรือต้องเข้าชี้แจงแสดงหลักฐานขอคืนสิทธิ์ที่ตนเองควรจะได้อย่างไร
สรุปคะแนนแล้ว ตามที่ปรากฏในแบบบันทึกการวัดและประเมินผล ซึ่งจะไม่มีการตรวจรับ-ส่งผลงานย้อนหลังดังที่อาจารย์แจ้งไว้แต่ต้นแล้ว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักศึกษากลุ่มใดๆส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงาน thaistar2011 ในครั้งนี้ ซึ่งก็น่าเสียดายที่นักศึกษาไม่มีความพยายามและเห็นความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้มอบหมายให้ในครึ่งเทอมแรกนี้ และเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่า การทำกิจกรรมกลุ่มงานออกแบบในครั้งนี้ล้มเหลว โดยมีมากกว่า 95% ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ผู้เรียนลงทะเบียนวิชานี้ มี 4 กลุ่มเรียน ร่วม 118 คน แบ่งกลุ่มนำเสนองานเพียง 32 กลุ่ม(ไม่เกิน 3 คน) มีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมินกิจกรรมนี้เพียง 15 คน ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของผู้เรียนและความรับผิดชอบงานในฐานนะของผู้ที่คิดว่าจะจบการศึกษาออกไปเป็นนักออกแบบยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อตรวจสอบจำนวนผู้เรียนตามเกณฑ์เวลาเรียนไม่ถึง 80% แล้วจะต้องมีผู้ตกวิชานี้มากกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลงทะเบียนแน่นอน
แนะนำว่าในครึ่งเทอมหลังให้นักศึกษาเข้าอ่านสาระบล็อกของวิชานี้ด้วยนะครับว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้ ของบัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมจันทรเกษม คืออะไร โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มเรียน 103 หรืออีกฉายาหนึ่งซึ่งต่อไปจะตั้ืงชื่อให้ว่าเป็น นักศึกษามือเปล่า ที่ต้องการทำ hattrick ให้เล่าขานเป็นตำนานไว้สืบไป
Thursday, August 4, 2011
สรุปกิจกรรมตามโจทย์โครงการ ThaStar2011 Packaging design work-based learning
จากการทำกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อพิจารณาให้สามารถส่งผลงานที่มีคุณภาพเข้าร่วมประกวดในโครงการ ThaiStar2011 ที่นักศึกษาทุกคนได้นำเสนอผลงานและแสดงนิทรรศการย่อมๆหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ที่ 7(31 ก.ค.-3 ส.ค.2554)และมีการสอบกลางภาคเรียนทางระบบออนไลน์ที่ คลาโรไลน์ไทย ดอตอินโฟ ไปแล้วนั้น สิ่งที่คุณและกลุ่มได้ทำงานแสดง คือผลสรุปที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว คือความเป็นจริง ปรากฏออกมาจริงที่คุณทราบด้วยตนเอง ว่าผลงานและการกระทำคือผลที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานและหลักฐานแสดง ในระหว่างการติดตามและตรวจสอบการทำงานตามขั้นตอนหลักการดำเนินงานออกแบบของ 3ส:3R : Design Direction (1 ส.สืบค้น ส2.สมมติฐาน ส3.สรุปผล : 1.Research 2.Resume 3.Result) การที่อาจารย์ต้องพูด ต้องแสดงบทบาท ลีลาต่างๆไป ก็เพื่อให้บังเกิดผลกระทบหรืออาจจะกระแทก กระตุ้นให้มีผลต่อผู้เรียนโดยรวม แต่บางจังหวะสายตาที่กราดดูอาจไปตกที่ใครบ้าง การแสดงลีลาที่เกรี้ยวกราด ก็เป็นตามบทบาทหน้าที่ผู้คุมชั้นเรียนให้เป็นไปตามทิศทางของแผนการสอน ให้ผู้ที่เอาเปรียบในการทำงานกลุ่ม ได้รู้สำนึกหรือแม้แต่ตัวคุณเองให้รู้ตัวว่า ต้องพูดต้องแสดงถึงภูมิปัญญาของตนเองอย่างไร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วยข้อมูลอะไร และบางครั้งการเงียบของผู้เรียนนั่นก็คือการยอมรับโดยปริยายว่าไม่มีการเตรียมการหรือมีความพร้อมในการนำเสนอนั่นเอง
คิดดีและคิดตาม : ที่สำคัญที่อยากแจ้งให้ทราบทั่วกันก็คือการประเมินผลวิชานี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ในกิจกรรมนี้ก็คือสิ่งที่คุณได้เกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการเรียนแบบการเรียนรู้ จากการทำงานจริง(Design work-based learning) ณ เพลานี้แล้วว่า คุณได้เรียนรู้ด้วยตัวคุณเองว่าต่อไปจะเข้ากลุ่มกับใคร หรือเลือกใครเป็นเพื่อนเพื่อร่วมทำงานจริงในวิชาชีพที่เรียนนี้ ประสบการณ์ครั้งนี้ได้แก่ตัวคุณเอง นั่นคือสิ่งที่อาจารย์ต้องการให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งล้มเหลว(เป็นส่วนใหญ่วันนี้)และประสบความสำเร็จเป็นบางกลุ่ม นักศึกษาลองดูภาพถ่ายที่บันทึกหรือบันทึกคะแนนของตนซิครับ บางคนเข้ามาดูและชื่นชมผลงานตนเองที่ทำ หมั่นแวะเวียนเข้ามาดูสิ่งที่อาจารย์ได้สร้าง-บันทึกหลักฐานโปรไฟล์ให้แก่ศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ลึกๆแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ผู้ดูผู้รู้เขาที่เห็นภาพบรรยากาศ เห็นสายตาและรอยยิ้ม ความอิ่มเอิบของเจ้าของผลงาน ก็ย่อมทราบความหมายเองด้วยวิจารณญานว่าได้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ใน กิจกรรมนี้อย่างไร เป็นผลสรุปของแต่ละคน และเกิดอย่างไรนั้นอาจารย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน แต่มั่นใจว่าทุกคนได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์จัดกิจกรรมครั้งนี้ให้แล้ว
คิดไม่ดี มีอคติ : "ประจานงานนี่หว่า", "Drop (Withdraw)ดีกว่า" " ไม่เห็นสอนอะไรเลย"
ความจริงที่ปรากฏ จะแจ้งให้เห็นจริงอยู่ในบล็อกของตนเองเป็นรายละเอียดในภาระงานของแต่ละคน เป็นข้อตกลงในการเขียน Weekly Blogging ที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องบันทึกประสบการณ์และสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นส่วนตัว เพื่อให้อาจารย์ได้ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ตามข้อตกลงที่ได้แจ้งไว้แล้ว ซึ่งความจริงนี้เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนที่จะบันทึกผลสัมฤทธิ์และประสบการณ์การเรียนรู้ วิธีการทำงานตามหลักการที่อาจารย์สอบและแสดงหลักฐานตามที่เป็นจริงเอาไว้ ความจริงแห่งหลักฐานการบันทึกสรุปผลการเรียนรู้ของตนเองนี้ไม่มีใครแย่งของเราเอาไว้ได้ ซึ่งวิธีการสร้าง-แสดงร่องรอยแห่งการรักษาสิทธิ์ในผลงานของตนเอง อาจารย์ก็สอนให้ไปแล้ว หากคุณไม่นำไปปฏิบัติก็เป็นความล้มเหลวของตัวคุณเอง ลองดูบล็อกของอาจารย์ซิครับว่า อาจารย์แสดงสิทธิ์แห่งตนและให้เกียรติการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นไว้อย่างไร และหากเห็นว่าแนวทางที่อาจารย์สอนไว้คือสิ่งที่ดี ก็นำไปปฏิบัติพัฒนาให้ดีกว่า สร้างโปรไฟล์ให้ปรากฏว่าคุณได้รู้จริงทำจริงออกมาอย่างไร มิใช่มีแต่ภาพไม่มีเนื้อหาสาระอรรถาธิบายใดๆ และสิ่งที่คุณเองได้คัดเลือกแสดงต่อสาธารณะไว้นี้นั้น ก็คือผลรวมของการสรุปกิืจกรรมที่เรียนรู้จริงแสดงหลักฐานต่างๆเป็นของตนเองเฉพาะ และนั่นก็คือหลักฐานแสดงสิ่งที่ตนเองได้เกิดสติปัญญาและเกิดทักษะ เมื่อมีการแบ่งปันสู่สาธารณะ เปิดเผยความจริงที่สามารถเข้าถึง เข้าใจและชี้แจงได้อย่างมีประโยชน์แล้ว ก็คือสิ่งที่ตัวผู้สร้างสรรค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความอิ่มเอิบ เป็นความสุขที่ตนเองได้รับ ซึ่งอาจารย์ ผู้อื่น หรือคนรัก คนในครอบครัว ก็กำลังรอเข้าชื่นชมยินดีด้วยในวันนี้ หรือต่อไปก็คือจะเป็นอดีต เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลานั่นเอง หากทำดีถึงได้ D ก็อย่าท้อ มองให้เป็น :D (Emoticon sign) เพราะเป็นช่วงหนึ่งเวลาหนึ่งของการเีรียนรู้ในชั้นเรียน ว่านี่คือสิ่งคุณทำได้ดีที่สุดแก่งานและอุทิศเวลาให้แก่งานและตนเองแล้ว? ลองนึกย้อนเวลาอย่าโทษสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหรืออย่าพึ่งสรุปหากยังเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ค้นหาเพื่อตนเองต่อไป อย่ายอมแพ้ เพราะการพัฒนาตนเองและทักษะวิชาชีพ คือสิ่งที่มนุษย์ต้องทำไปตลอดเวลาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังคำสุภาษิตที่ว่า คบบัณฑิต บัณฑิตย่อมพาไปหาผล หากอยากเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องคบหา พบพานเพื่อนหรือผู้ที่เราเองยอมรับแล้วว่า เป็นกลุ่มหรือบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์แล้วเช่นกัน
อย่าลืมว่าการสรุปผลงานโปรไฟล์เป็นเล่มผลงานของแต่ละคนนั้นต้องส่งแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้เอาไว้ที่ในกลุ่ม issuu.com/groups/packaging จึงจะเสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนทำอย่างไรจึงจะได้ร่วมแสดงนั้นก็ลองศึกษา ปรึกษาเรียนรู้ร่วมกันดู จงรู้จักใช้งานระบบ Social Network media ให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาเรียนรู้และการรับทราบข่าวสารของตนเอง เข้าอ่านรายละเอียดและตรวจสอบความผิดพลาดของตนที่ผ่านมา ศึกษาเรียนรู้ให้รู้เท่าทันการณ์ได้ตลอดเวลา แล้วชีวาเราจะเป็นสุขและอยู่กับมันได้อย่างร่วมสมัยครับ
Do it and surrounded with creative persons today.!
คิดดีและคิดตาม : ที่สำคัญที่อยากแจ้งให้ทราบทั่วกันก็คือการประเมินผลวิชานี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ในกิจกรรมนี้ก็คือสิ่งที่คุณได้เกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการเรียนแบบการเรียนรู้ จากการทำงานจริง(Design work-based learning) ณ เพลานี้แล้วว่า คุณได้เรียนรู้ด้วยตัวคุณเองว่าต่อไปจะเข้ากลุ่มกับใคร หรือเลือกใครเป็นเพื่อนเพื่อร่วมทำงานจริงในวิชาชีพที่เรียนนี้ ประสบการณ์ครั้งนี้ได้แก่ตัวคุณเอง นั่นคือสิ่งที่อาจารย์ต้องการให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งล้มเหลว(เป็นส่วนใหญ่วันนี้)และประสบความสำเร็จเป็นบางกลุ่ม นักศึกษาลองดูภาพถ่ายที่บันทึกหรือบันทึกคะแนนของตนซิครับ บางคนเข้ามาดูและชื่นชมผลงานตนเองที่ทำ หมั่นแวะเวียนเข้ามาดูสิ่งที่อาจารย์ได้สร้าง-บันทึกหลักฐานโปรไฟล์ให้แก่ศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ลึกๆแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ผู้ดูผู้รู้เขาที่เห็นภาพบรรยากาศ เห็นสายตาและรอยยิ้ม ความอิ่มเอิบของเจ้าของผลงาน ก็ย่อมทราบความหมายเองด้วยวิจารณญานว่าได้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ใน กิจกรรมนี้อย่างไร เป็นผลสรุปของแต่ละคน และเกิดอย่างไรนั้นอาจารย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน แต่มั่นใจว่าทุกคนได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์จัดกิจกรรมครั้งนี้ให้แล้ว
คิดไม่ดี มีอคติ : "ประจานงานนี่หว่า", "Drop (Withdraw)ดีกว่า" " ไม่เห็นสอนอะไรเลย"
ความจริงที่ปรากฏ จะแจ้งให้เห็นจริงอยู่ในบล็อกของตนเองเป็นรายละเอียดในภาระงานของแต่ละคน เป็นข้อตกลงในการเขียน Weekly Blogging ที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องบันทึกประสบการณ์และสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นส่วนตัว เพื่อให้อาจารย์ได้ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ตามข้อตกลงที่ได้แจ้งไว้แล้ว ซึ่งความจริงนี้เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนที่จะบันทึกผลสัมฤทธิ์และประสบการณ์การเรียนรู้ วิธีการทำงานตามหลักการที่อาจารย์สอบและแสดงหลักฐานตามที่เป็นจริงเอาไว้ ความจริงแห่งหลักฐานการบันทึกสรุปผลการเรียนรู้ของตนเองนี้ไม่มีใครแย่งของเราเอาไว้ได้ ซึ่งวิธีการสร้าง-แสดงร่องรอยแห่งการรักษาสิทธิ์ในผลงานของตนเอง อาจารย์ก็สอนให้ไปแล้ว หากคุณไม่นำไปปฏิบัติก็เป็นความล้มเหลวของตัวคุณเอง ลองดูบล็อกของอาจารย์ซิครับว่า อาจารย์แสดงสิทธิ์แห่งตนและให้เกียรติการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นไว้อย่างไร และหากเห็นว่าแนวทางที่อาจารย์สอนไว้คือสิ่งที่ดี ก็นำไปปฏิบัติพัฒนาให้ดีกว่า สร้างโปรไฟล์ให้ปรากฏว่าคุณได้รู้จริงทำจริงออกมาอย่างไร มิใช่มีแต่ภาพไม่มีเนื้อหาสาระอรรถาธิบายใดๆ และสิ่งที่คุณเองได้คัดเลือกแสดงต่อสาธารณะไว้นี้นั้น ก็คือผลรวมของการสรุปกิืจกรรมที่เรียนรู้จริงแสดงหลักฐานต่างๆเป็นของตนเองเฉพาะ และนั่นก็คือหลักฐานแสดงสิ่งที่ตนเองได้เกิดสติปัญญาและเกิดทักษะ เมื่อมีการแบ่งปันสู่สาธารณะ เปิดเผยความจริงที่สามารถเข้าถึง เข้าใจและชี้แจงได้อย่างมีประโยชน์แล้ว ก็คือสิ่งที่ตัวผู้สร้างสรรค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความอิ่มเอิบ เป็นความสุขที่ตนเองได้รับ ซึ่งอาจารย์ ผู้อื่น หรือคนรัก คนในครอบครัว ก็กำลังรอเข้าชื่นชมยินดีด้วยในวันนี้ หรือต่อไปก็คือจะเป็นอดีต เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลานั่นเอง หากทำดีถึงได้ D ก็อย่าท้อ มองให้เป็น :D (Emoticon sign) เพราะเป็นช่วงหนึ่งเวลาหนึ่งของการเีรียนรู้ในชั้นเรียน ว่านี่คือสิ่งคุณทำได้ดีที่สุดแก่งานและอุทิศเวลาให้แก่งานและตนเองแล้ว? ลองนึกย้อนเวลาอย่าโทษสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหรืออย่าพึ่งสรุปหากยังเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ค้นหาเพื่อตนเองต่อไป อย่ายอมแพ้ เพราะการพัฒนาตนเองและทักษะวิชาชีพ คือสิ่งที่มนุษย์ต้องทำไปตลอดเวลาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังคำสุภาษิตที่ว่า คบบัณฑิต บัณฑิตย่อมพาไปหาผล หากอยากเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องคบหา พบพานเพื่อนหรือผู้ที่เราเองยอมรับแล้วว่า เป็นกลุ่มหรือบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์แล้วเช่นกัน
Do it and surrounded with creative persons today.!
รักศิษย์เท่าเทียมกันทุกคนครับ
Tuesday, August 2, 2011
สัปดาห์ที่ 7 วันนำเสนอผลงานและการสอบกลางภาคเรียนในวิชา arti3314,arti3319
สัปดาห์ที่ 7 วันนำเสนอผลงานและการสอบกลางภาคเรียนในวิชา arti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2554,วิชา arti3319 การสอบออนไลน์ที่ claerolinethai.info และวิชา arti3314 กลุ่ม 101 ภาคปกติวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2554 โปรเจคไทยสตาร์ 2011 กลุ่มเรียน 201 ไม่มีกลุ่มใดผ่านเกณฑ์การประเมิน เพราะไม่ส่ง ไม่เสร็จไม่ใส่ใจรับทราบเกณฑ์และ กลุ่ม 101 มีส่งเพียงกลุ่มเดียว และผ่านเกณฑ์ประเมิน แต่คุณภาพผลงานยังไม่ถึงขั้นส่งเข้าร่วมประกวด ให้ลองปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามคำแนะนำและอาจส่งเข้าประกวดเองตามเงื่อนไขของทาง ThaiStar2011
การส่งผลงานวิชาarti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบ และ 101 ภาคปกติ ให้ดูภาพบรรยากาศและสรุปกันเองก็แล้วกันนะครับว่า นักศึกษาที่เรียนแต่ละกลุ่มมีคุณภาพระดับใด เอาใจใส่แค่ไหน หากนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ทดลองฝึกปฏบัติตามข้อแนะนำและร่วมกันรับผิดชอบตามภาระงาน ตามโจทย์ ตามหลักการ 3ส:3R และ Design Process ดูตัวอย่างผลงาน ที่อาจารย์แชร์ GoogleDocs ให้ ตามอ่านบทความที่เขียนบล็อกบันทึกการสอนให้แนวทางไว้ใน blogspot และส่งยังข่าวให้ทาง GoogleBuzz ,Googleplus แล้ว ก็คงจะเริ่มเห็นคำเฉลยที่ชัดเจนขึ้นว่า Work-Based Design Learning ที่อาจารย์เน้นย้ำและติตามเอาใจใส่พวกเรามาตลอดนั้น มีความหมายและผลกรรมอย่างไรบ้าง หากใครผ่านขั้นตอนนี้ไปเรียนได้ ไม่หมดสิทธิ์สอบซะก่อน คงต้องทราบว่าจะต้องปฎิบัติตนอย่างไรจึงจะผ่านการประเมินผลตามระยะไปได้ วันพุธที่ 3 ส.ค.นี้ ยังมีอีก 2 กลุ่มเรียน คงจะเห็นอะไรที่ดีขึ้น หากมีใครเข้ามาอ่านข่าวสารนี้ก่อนถึงเวลา หากอยากจะรอเวลาหรือขอเวลาอีก ก็จัดให้ได้ในปีหน้าตามระเบียบครับ....
การส่งผลงานวิชาarti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบ และ 101 ภาคปกติ ให้ดูภาพบรรยากาศและสรุปกันเองก็แล้วกันนะครับว่า นักศึกษาที่เรียนแต่ละกลุ่มมีคุณภาพระดับใด เอาใจใส่แค่ไหน หากนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ทดลองฝึกปฏบัติตามข้อแนะนำและร่วมกันรับผิดชอบตามภาระงาน ตามโจทย์ ตามหลักการ 3ส:3R และ Design Process ดูตัวอย่างผลงาน ที่อาจารย์แชร์ GoogleDocs ให้ ตามอ่านบทความที่เขียนบล็อกบันทึกการสอนให้แนวทางไว้ใน blogspot และส่งยังข่าวให้ทาง GoogleBuzz ,Googleplus แล้ว ก็คงจะเริ่มเห็นคำเฉลยที่ชัดเจนขึ้นว่า Work-Based Design Learning ที่อาจารย์เน้นย้ำและติตามเอาใจใส่พวกเรามาตลอดนั้น มีความหมายและผลกรรมอย่างไรบ้าง หากใครผ่านขั้นตอนนี้ไปเรียนได้ ไม่หมดสิทธิ์สอบซะก่อน คงต้องทราบว่าจะต้องปฎิบัติตนอย่างไรจึงจะผ่านการประเมินผลตามระยะไปได้ วันพุธที่ 3 ส.ค.นี้ ยังมีอีก 2 กลุ่มเรียน คงจะเห็นอะไรที่ดีขึ้น หากมีใครเข้ามาอ่านข่าวสารนี้ก่อนถึงเวลา หากอยากจะรอเวลาหรือขอเวลาอีก ก็จัดให้ได้ในปีหน้าตามระเบียบครับ....
Sunday, July 31, 2011
สัปดาห์ที่ 5-6 ติดตามงานกลุ่ม ThaiStar2011 ขั้นตอน ส1.และส2.ตามกระบวนการออกแบบ
การส่งผลงานในสัปดาห์ที่ 6 ผลงานควรแล้วเสร็จแล้วทั้งโครงสร้างและกราฟิกอย่างน้อย 3 แบบ 3 ไอเดียพร้อมรายงานใน googledocs และตรวจสอบดูว่าผลงานที่ได้ออกแบบมานั้นว่า 1.มีความใหม่(New) 2.มีคุณภาพที่ดีกว่า(Better)และ3.มีความแตกต่าง(Difference) จากผลงานที่คนอื่นๆหรือในท้องตลาดหรือไม่ อย่างไร เวลานำเสนอผลงานให้ใช้หลักการนี้มาใช้ตรวจสอบ และแม้จะเป็นผลงานกลุ่มก็ตามเมื่อได้เนื้อหาที่ศึกษาหรือข้อตกลงเรื่องการทำโครงการร่วมกันแล้ว แต่ละคนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มก็ต้องทำงานเป็นแนวทางของตนเองออกมาโดยใช้แนวคิดสมมติฐานหรือโจทย์ร่วมกัน ใช้แบบกราฟิก ลวดลายตราสัญลักษณ์ร่วมกัย ข้อมูลสินค้าที่เป็นหลักร่วมหัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลงานออกมาเป็นทางเลือกที่แตกต่างหรือเป็นส่วนขยายออกมาเช่น คนแรกทำงานออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยย่อย คนที่สองทำเป็นยูนิต 3 ชิ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นของขวัญ คนที่สามทำออกมาเป็น display package เป็นแบบให้สะดวกแก่การจัดจำหน่าย หรือขยายผลงานให้ได้หลากหลายให้ครอบคลุมประเภทหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งานสินค้าและบรรจุภัณฑ์เป็นต้น
แต่เมื่อมีการนำเสนออาจารย์ในชั้นเรียนแล้ว นักศึกษากลับเป็นงานเพียงชิ้นเดียว อ้างยังไม่แล้วเสร็จ หรือมักกล่าวอ้างว่าก็ช่วยคิดไงครับ แม้กระทั่งตัวสินค้าก็ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ขนาดมิติที่แท้จริงเลย นักศึกษายังไม่ได้ทดลองกระทำหรือร่วมกันคิด แต่มักจะเน้นไปหาเนื้อหาและก็อปปี้มาใส่เป็นภาคเอกสาร โดยไม่มีการสรุปหรือแม้กระทั่งรูปสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้ๆตัวก็ยังไม่ดำเนินการถ่ายภาพ หรือนำมาศึกษาวิเคราะห์ตามที่อาจารย์ได้สอนและให้ดูผลงานตัวอย่างที่อาจารย์ทำงานจริงมาให้ดู และแจ้งผ่านทั้งทางอีเมล กูเกิ้ลบัซซ์หรือ กูเกิ้ลพลัสไปแล้วก็ตาม และมิใช่เป็นส่วนน้อย แต่เป็นแทบทุกกลุ่ม ไม่เหมือนนักศึกษาปีที่แล้ว(2553)ที่ทั้งหอบหิ้วผลงานพรุงพรังมาให้อาจารย์ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างกระตือรือล้น และสนุกสนานได้ผลงานออกมาจนแทบจะหาที่จัดเก็บไม่ได้ และที่สำคัญคือจำนวนผู้เรียนเริ่มลดลง เพราะัเริ่มถอนวิชาและขาดเรียนเกิน 4 ครั้งจนหมดสิทธิ์สอบ ซึ่งก็น่าเสียดายเวลาที่ต้องเรียนจบช้าไปอีก 1 ปี อย่างแน่นอน
หากตั้งใจมาเรียนและฝึกปฏิบัติและรู้จักรับผิดชอบตามที่อาจารย์มอบหมายงานให้และทดลองฝึกฝนตามกระบวนการที่สั่งสอนก็คงไม่เป็นเช่นนี้ สงสารผู้ปกครองจริงๆ และหากเขาดูวิดีโอคลิบที่อาจารย์หามาให้คลิกดูนี้ ก็คงจะเข้าใจยิ่งขึ้นนะครับและโอกาสหน้าก็ปรับตัวเสียใหม่นะครับ ลองคลิกดูคลิปนี้สักสองครั้งว่าเราเองเข้าใจได้ระดับใด คล้ายกับหลักการวิธีการที่อาจารย์สอนไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะลองทำตามได้ในประเด็นใดบ้าง หากได้ลองก็แสดงว่า คุณได้เริ่มคิดได้แล้ว อย่ารีรอ
แต่เมื่อมีการนำเสนออาจารย์ในชั้นเรียนแล้ว นักศึกษากลับเป็นงานเพียงชิ้นเดียว อ้างยังไม่แล้วเสร็จ หรือมักกล่าวอ้างว่าก็ช่วยคิดไงครับ แม้กระทั่งตัวสินค้าก็ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ขนาดมิติที่แท้จริงเลย นักศึกษายังไม่ได้ทดลองกระทำหรือร่วมกันคิด แต่มักจะเน้นไปหาเนื้อหาและก็อปปี้มาใส่เป็นภาคเอกสาร โดยไม่มีการสรุปหรือแม้กระทั่งรูปสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้ๆตัวก็ยังไม่ดำเนินการถ่ายภาพ หรือนำมาศึกษาวิเคราะห์ตามที่อาจารย์ได้สอนและให้ดูผลงานตัวอย่างที่อาจารย์ทำงานจริงมาให้ดู และแจ้งผ่านทั้งทางอีเมล กูเกิ้ลบัซซ์หรือ กูเกิ้ลพลัสไปแล้วก็ตาม และมิใช่เป็นส่วนน้อย แต่เป็นแทบทุกกลุ่ม ไม่เหมือนนักศึกษาปีที่แล้ว(2553)ที่ทั้งหอบหิ้วผลงานพรุงพรังมาให้อาจารย์ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างกระตือรือล้น และสนุกสนานได้ผลงานออกมาจนแทบจะหาที่จัดเก็บไม่ได้ และที่สำคัญคือจำนวนผู้เรียนเริ่มลดลง เพราะัเริ่มถอนวิชาและขาดเรียนเกิน 4 ครั้งจนหมดสิทธิ์สอบ ซึ่งก็น่าเสียดายเวลาที่ต้องเรียนจบช้าไปอีก 1 ปี อย่างแน่นอน
หากตั้งใจมาเรียนและฝึกปฏิบัติและรู้จักรับผิดชอบตามที่อาจารย์มอบหมายงานให้และทดลองฝึกฝนตามกระบวนการที่สั่งสอนก็คงไม่เป็นเช่นนี้ สงสารผู้ปกครองจริงๆ และหากเขาดูวิดีโอคลิบที่อาจารย์หามาให้คลิกดูนี้ ก็คงจะเข้าใจยิ่งขึ้นนะครับและโอกาสหน้าก็ปรับตัวเสียใหม่นะครับ ลองคลิกดูคลิปนี้สักสองครั้งว่าเราเองเข้าใจได้ระดับใด คล้ายกับหลักการวิธีการที่อาจารย์สอนไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะลองทำตามได้ในประเด็นใดบ้าง หากได้ลองก็แสดงว่า คุณได้เริ่มคิดได้แล้ว อย่ารีรอ
Monday, July 18, 2011
แนวทางการคิดพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ประเภทขนม cupcake
ตัวอย่างการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์(Product & Packaging Adaptation)ประเภทขนมอบใส่ถ้วยกระดาษ( cupcake ) ด้วยไอเดียอย่างง่ายๆและฉลาดด้วยการปั้นหรือปั๊มแบบก ราฟิก สัญลักษณ์ ไอค่อน ตัวอักษร ฯลฯ ด้วยน้ำตาล+สีผสมอาหาร แล้ววางตกแต่งหน้าขนมเค้กอันเล็กๆ ที่ทำมือแล้วจัดส่งกล่องสวยๆ มีโลโก้และการ์ดสำหรับเขียนและส่งแบบ delivery เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม(Product Values Added)ให้แก่ตัวสินค้า เสริมบรรยากาศให้น่าทาน สีสันสวยงามด้วยปรับใช้หลักการศิลปะตามแนวทางของทฤษฎีสี(Color Theory)และใช้หลักการสื่อสารและการรับรู้ทางตา(Visual Communication)อันเป็นหลักการและแนวทางของนิเทศศิลป์โดยแท้ ซึ่งดูแล้วว่านักศึกษาศิลปกรรมที่เรียนวิชาออกแบบกราฟิกสำหรั บบรรจุภัณฑ์น่าจะทำได้ไม่ยาก หากคิดแล้วลองเอามาลงมือทำจริง ตามที่อาจารย์มอบหมายงานให้ไป ลองดูสินค้ารอบๆตัวเราว่าเขามีปัญหาอะไรหรือเราสามาร ถใส่แนวคิดและผลิตออกมาได้จริงหรือจำลองของจริงออกมา เป็นต้นแบบสื่อสารให้เห็นแนวคิดที่สามารถทำจริงได้หรื อไม่ ลองค้นหาสินค้าที่อยู่ใกล้ๆตัว หาคนละหลายแบบทำคนละอย่างสองอย่าง บันทึกแบบร่างทางความคิดและแนวทางการพัฒนาตาม 3ส:3R แล้วจะทราบคำตอบด้วยตัวเองว่า Work-Based Learning ที่อาจารย์ตั้งประเด็นหลักให้ฝึกคิดวิเคราะห์จากโจทย์ เอกลักษณ์ไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยการทำงานจริงเพื่อส่งประกวดนั้น สามารถค้นหาคำตอบและนำเสนออาจารย์ได้ จากการที่ต้องลงมือทำงานจริง ลองปรับไอเดียเขามาใช้กับบ้านเราหรือตัวเราดู ส่งเผยแพร่แนวคิดที่สามารถทำได้จริงและส่งขอคำวิพากษ์ จากอาจารย์และเพื่อนๆ ไม่ใช่แค่ค้นหาแค่ภาพและเนื้อหานำมารวมกันไว้เท่านั้ น คิดอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลงมือทำและดัดแปลงปรับปรุงให้ดียิ่งกว่าเสมอ ลองค้นหาไอเดียต่อได้จากที่นี่ครับhttp://www.flickr.com/photos/clevercupcakes
Saturday, July 16, 2011
เครื่้องมือออนไลน์ฟรีและง่ายๆ ช่วยในการคิด-วิเคราะห์และสร้างสรรค์งานออกแบบโลโก้สินค้าใหม่
ปัจจุบันนี้มีการบริการด้านเครื่องมือช่วยทำงานและคิด-วิเคราะห์ ในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบบนเว็บไซต์มากมาย ให้ใช้กันทันทีและแทบจะไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางการออกแบบด้วยซ้ำไป มีทั้งเสียเงินและแบบฟรีจริงๆหรือมีข้อแม้และได้ประโยชน์ร่วม เช่นที่http://socialmedia.trademarkia.com/logo-creator-free-advanced.aspx แบบฟรีที่ไม่ต้องลงทะเบียน อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ รู้จักชื่อแบบตัวอักษร เทคนิคกราฟิกพิเศษที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ www.logomaker.com นี้ก็ได้ใช้ความรู้เรื่องการที่ต้องทราบวิธีการและขั้นตอน เพียง 4 ขั้นตอนนับแต่การที่ต้องสมัครเป็นสมาชิกจนถึงการที่ต้องทราบว่าผลงานที่เราทดลองสร้างนั้นถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน และต้องเอาออกจากเว็บไซต์เขาอย่างไร หรือต้องเสียเงินเสียทองจ่ายทางบัตรเครดิตราคาเท่าใดและอย่างไรจึงจะได้ต้นแบบไฟล์มาใช้งานจริง หรือเมื่อได้ภาพจริงมาแล้ว จะมีคุณภาพ(Resulotions)ที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ระดับใดได้บ้าง มีเครื่องมือและตัวจัดการงานที่ดีกว่าของฟรีจริงๆ(Absolutly Free)ในประเด็นใดบ้าง และใน www.onlinelogomaker.com ก็มีเครื่องมือที่ดีกว่า มีรูปภาพสำเร็จรูปมาให้เลือกใช้พร้อม ชนิดที่ว่าแค่จับวางหรือปรับเปลี่ยนดัดแปลงต่อได้ง่ายๆแบบว่าเก่งในพริบตา ใช้เวลาเพียง 10 นาทีก็เสร็จ ซึ่งประสบการณ์ในการเข้าใช้งานจริงเท่านั้น นักศึกษาจึงจะทราบความจริงว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง และได้ทราบแนวทางการนำไปปรับประยุกต์ใช้ทั้งในวิถีการเรียนรู้หรือใช้ร่วมกับการทำงานจริง
ให้นักศึกษาลองใช้คำสืบค้นว่า free online logo maker หรือ logo creator ดูครับ แต่อย่านำมาใช้โดยตรงเพราะจะไม่เปป็นการฝึกคิดจากโจทย์ที่ตั้ง แต่จะเป็นการดันทุรังสร้าง concept ใส่กราฟิกแทนแล้วนำมาบอกว่าตนเองเป็นผู้ออกแบบ อย่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้...แล้วไป แต่หากคนอื่นรู้แล้วจะอายเขาภายหลัง นำมาเทียบเคียงได้ก็นำมาอ้างอิงว่าศึกษาหามาใช้จากไหนเป็นเชิงวิชาการได้และเป็นมารยาทที่ดี เพราะเราเป็นนักศึกษาและส่งในวิชาที่เรียนได้ หากเราเป็นมืออาชีพเมื่อไรแล้วเขาคงไม่ให้อภัยในการขโมยผลงานของผู้อื่นมาใช้อย่างแน่นอน
ลองศึกษาแล้วบันทึก จด จำ เขียน แล้วบอกต่ออย่าหวังพึ่งแต่เพื่อนให้ช่วยทำหรือว่าจ้างรุ่นพี่ทำงานเรียนให้เพื่อส่งอาจารย์ เวลาส่งและนำเสนองานแล้วถูกสอบทานกลับและตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้ เวลานั้นจะรู้สึกหน้าชาๆ แต่...หรือว่าเฉยๆทำเนียน เพราะทุกวันนี้นักศึกษาพอกหน้าหนาๆก่อนเข้าห้อง present ก็ไม่รู้ง่ะ เอ๊ย! นะ
ก็บันทึกเผยแพร่ไว้ครับตามประสาครูบาอาจารย์ เผื่อผู้อยากเจริญทางปัญญา เผอิญผ่านมาพบเข้า
ก็บันทึกเผยแพร่ไว้ครับตามประสาครูบาอาจารย์ เผื่อผู้อยากเจริญทางปัญญา เผอิญผ่านมาพบเข้า
Wednesday, July 13, 2011
สัปดาห์ที่ 4 ดิดตามงานกลุ่ม ThaiStar2011 ขั้นตอน ส1.และส2.
วันนี้มีการติดตามและนำเสนอผลงานขั้นตอน 3ส:3R ส1.(Research)และ ส2.(Resume)ดังที่แจ้งใน GoogleBuzz แล้วตามโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส่งประกวด ThaiStar Awards 2011 ตามขั้นตอนตามวิธีการศึกษาเรียนรู้จากการทำงานจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นตามหลักการดำเนินงานออกแบบ 3ส:3R Design Direction และกระบวนการออกแบบ(Design Process) ซึ่งผลการสังเกตและติดตามประเมินผลงานการออกแบบในขั้นนี้ของผู้เรียนทั้ง 4 กลุ่ม ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่นในภาพแรกนี้ อาจารย์ได้บันทึกภาพเวลา 8.15 น.ก่อนเข้าชั้นเรียน มีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกนี้ชื่อกลุ่ม Migraine ที่มาทำงานและปรึกษางานร่วมกันแต่เช้า ทานข้าวเช้า เสวนางานกลุ่มด้วยกันอย่างรีบเร่ง(เผา) ซึ่งก็มาทำงานกันหน้าห้องพักอาจารย์กันเลย คงกะว่าอาจารย์เดินมาก็ เข้าตาชัดๆแน่ ก็เลยสนองด้วยการเดินถือแก้วกาแฟไปร่วมวงซะหน่อย และก็เริ่มวิจารณ์กันก่อนนอกรอบ ก็ดีครับ แม้เป็นการเริ่มต้นที่เร่งรีบก็ตาม อย่างน้อยก็ยังดีกว่าผู้เรียนที่มาสายเป็นประจำ ได้คำวิจารณ์ก่อนใครๆ ส่วนจะนำไปปรับแก้กันแค่ไหนนั้นก็คอยดูตอนต่อไป และเมื่อตามตรวจผลงานของแต่ละกลุ่มในชั้นเรียนแล้ว ทุกคนก็คงเห็นนะครับว่า ผลงานช่างน่าชื่นชมขนาดไหน อาจารย์จึงได้เชิญให้เข้าวงการ Google+ โดยตั้งวงชื่อ ArtChandra CRU แนะให้มาดูและวิจารณ์ผลงานร่วมกัน เพื่อจะได้รู้เห็นเป็นหลักฐานแบบจะๆ ในคุณภาพการสร้างสรรค์ผลงานของเหล่าบรรดาว่าที่อนาคตบัณฑิตศิลปกรรม จันทรเกษมว่า Full Skill กันแน่แค่ไหน ..ดูภาพทั้งหมดนี้แล้ว คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากครับ เรียกว่าเป็นจอมยุทธมือเปล่ากันเป็นส่วนใหญ่
Sunday, July 10, 2011
วิธีการที่จะเข้าได้เข้าถึงการเรียนรู้แบบ การคิดวิเคราะห์ในการทำงานออกแบบจากสถานการณ์จริง
สินค้าในบ้านเมืองเรามีอยู่ดาษดื่นที่ต้องการให้ช่วยพัฒนาทั้งด้านกราฟิกและด้านโครงสร้างบรรจุภํณฑ์ ดังเช่นในภาพนี้เป็นสินค้าที่จำหน่ายในบริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ จังหวัดระยอง เป็นสินค้าประเภทของตกแต่งบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งหากวิเคราะห์โดยใช้สติและปัญญาหรือจิตวิญญานแห่งความรับผิดชอบเรื่องเอกลักษณ์ไทย ในฐานะที่เป็นชาวอำเภอแกลง ที่เอาสินค้านี้มาขายแล้ว นักศึกษารู้สึกหรือเกิดสำนึกอะไรหรือเห็นปัญหาอย่างไรบ้าง นักศึกษาในฐานะที่เป็นผู้เรียนในวิชาชีพศิลปกรรมด้านการออกแบบมา จะวิเคราะห์สถานการณ์ที่ปรากฏจริงนี้อย่างไร ลองเลือกใช้เป็นตัวสินค้าเป็นโจทย์ เป็นแนวทางของการที่จะทำงานการออกแบบและพัฒนาสินค้าตามโจย์ เอกลักษณ์ไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (และเพื่อส่งไปประกวดระดับอาเซีัยน)ไปเสนออาจารย์ตามกระบวนการ 3ส:3R ดูซิว่าคุณจะมีสมรรถนะ สามารถคิดวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบWork-Based นี้ให้ได้ผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายหรือมีวิธีการบรรจุเพื่อให้สะดวกแก่การขนส่งจนเสร็จสิ้นอย่างไร และถ้าหากสมมติว่าผู้ประกอบการชาวระยอง ได้ให้เราออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เขา เราจะเริ่มต้นทำงานไปนำเสนอ และผลิตต้นแบบจนแล้วเสร็จออกมาจริงอย่างไร โดยใช้แนวทางDesign Process ที่อาจารย์ให้ไว้เป็นแนวทางการดำเนินการและการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานจริงออกมา หากไม่คิดไม่หา และเมื่ออาจารย์หาใส่พานวางหน้าตักให้แล้ว ยังไม่ทำอีก ก็เตรียมตัวย้อนอดีตได้เลย
-------------------------------------------------------------------ดูภาพสินค้าอื่นๆได้จาก Picasa Web Album ของอาจารย์ที่นี่ หรือไม่ก็ไปหาของจริงมาวิเคราะห์และพัฒนาเองก็ได้ จะได้ทราบว่าตัวเองหรือกลุ่มทำงานจะมีความสามารถลงมือทำการผลิตได้จริง จากสินค้าง่ายๆใกล้ตัวและตอบโจทย์ที่อาจารย์ตั้งให้ได้อย่างไร
จำไว้ว่า ผู้ใด กลุ่มใดไม่นำเสนออย่างมีทิศทาง ย่อมจะไม่ผ่านการประเมินตามวิถีและตามเกณฑ์การเรียนรู้เช่นกัน
Week4:กระบวนการและขั้นตอนการออกแบบ(The Design Process)
กระบวนการออกแบบที่อาจารย์แชร์ให้ทุกคนที่แจ้งอีเมลในแบบประเมินผลไปแล้ว ให้นักศึกษาแต่ละคนดูและทำความเข้าใจ ขยายความ ตีความและศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงทดลองดำเนินการตามขั้นตอนสัก 2- 3 แบบ เพื่อเป็นแบบทางเลือก สำหรับวิธีการเขียนรายงานก็ให้ไปดูใน sites.google.com/site/artthesis กรณีศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น และดูไฟล์ตัวอย่างแนวทางการออกแบบรรจุภัณฑ์จาก slideshare.net ที่อาจารย์เผยแพร่ให้ศึกษาด้วยตนเองแล้ว
Wednesday, July 6, 2011
สัปดาห์ที่ 3 ติดตามงานโครงการออกแบบThaistar2011
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ 3 เป็นการติดตามผลการดำเนินงานโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเข้าประกวดในโครงการThaiStar2011 ตามข้อตกลงเบื้องต้นในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการตามแผนการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา โดยเน้นการเรียนรู้จากการทำงานจริง ในสถานการณ์จริง ( Work-Based Learning or Design Work-Based Learning) ดังที่อาจารย์ได้สอน 1.)หลักการดำเนินงาน (3ส:3R) 2.)การจัดแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบและ3.)วิธีคิดวิเคราะห์โจทย์จริงเพื่อวางแผนการดำเนินงานแบบกลุ่ม ดังที่มีในเว็บบล๊อกเนื้อหาตามวันเวลา-สัปดาห์.ให้นักศึกษาทั้ง 4 กลุ่มเรียนได้อ่านและศึกษาเรียนรู้นอกชั้นเรียนที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ไปแล้ว โดยได้สอนให้ทุกกลุ่มได้ใช้เครื่องมือฟรีออนไลน์ของ Google Apps เพื่อการปรับประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ ของตนเองทั้งในและนอกเวลาเรียน สามารถ เข้าถึง เข้าใช้จากที่ใดๆได้ตลอดเวลา ได้ตามอัธยาศัยและตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยที่มีไฟล์ตัวอย่าง ตัวอย่างการดำเนินงานจากประสบการณ์ของอาจารย์เอง ไฟล์รูปแบบการนำเสนอผลงานหรือที่เรียกว่าเป็นแม่แบบ(Template)ที่เกี่ยวข้อง แบ่งปัน-แจกจ่ายให้กับผู้ที่ทำตามกฏ กติกา มารยาท ที่วางไว้ไปแล้ว เรียกว่าหากทำต้องได้ ไม่ทำต้องไม่ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการฝึกความรับผิดชอบ ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยที่สามารถเกิดประโยชน์ได้ทั้งต่อตนเอง สถาบันการศึกษาและชาวประชาทั้งหลายทั้งปวงที่เข้าถึงได้ผ่านทาง Blogspot.com ของนักศึกษาแต่ละคน ตามวัตถุประสงค์ที่เข้ามาลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์ อาจารย์ก็เลยต้องจัดเต็มให้ทุกคน...ตามภาระงานและหน้าที่รับผิดชอบในฐานะผู้สร้าง...คนตามวิถีของนักออกแบบอันเป็นปรัชญาและวิสัยทัศน์ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ ที่นี่ยังไม่ใช่เวทีผลิตศิลปิน แต่เป็นเวทีของนักออกแบบที่ต้องทำงานสร้างสรรค์ตามข้อมูลและความต้องการที่ต้องพิสูจน์ได้
แต่แล้ววันนี้ก็.....ผิดหวังดังที่จะบันทึกไว้ในวันนี้ดังนี้คือ5.
1.เข้าสัปดาห์ที่ 3ของการเรียนการสอนแล้ว ตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน มีกลุ่มเรียน 4 กลุ่ม ภาคปกติ 3 กลุ่ม ภาคนอกเวลา 1 กลุ่ม รวมรายชื่อเรียนนักศึกษาทั้งสิ้น 118 คน แจ้งให้ทำกิจกรรมติดตามข่าวสารจากอาจารย์ทั้งในGoogleBuzz และใน Blogger แล้วมีผู้ใส่ใจติดตามอาจารย์เพียงแค่ 74คน (ตรวจสอบวันที่ 7/7/2554 เวลา 21.58 น.) และยังไม่แจ้งอีเมลแจ้งข้อมูลกลุ่ม และสร้างบล็อกตามที่กำหนดโจทย์ให้อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบในชั้นเรียน ดังนั้นภายในในสัปดาห์นี้จึงได้ปิดรับการแก้ไข หรือให้สิทธิ์ใดๆในการส่งงานผ่านทาง Google Apps เพราะถือว่าได้แจ้ง ครบ 3 ครั้งแล้ว ผู้เรียนที่ไม่แจ้งและทำตามข้อตกลง จึงถือว่าไม่ประสงค์รับการแจ้งข่าวสารและรับการประเมินผลด้านทักษะความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และยังจะส่งผลต่อเนื่องไปยังกิจกรรมอื่นๆเป็นลูกโซ่ต่อไป
แต่แล้ววันนี้ก็.....ผิดหวังดังที่จะบันทึกไว้ในวันนี้ดังนี้คือ5.
1.เข้าสัปดาห์ที่ 3ของการเรียนการสอนแล้ว ตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน มีกลุ่มเรียน 4 กลุ่ม ภาคปกติ 3 กลุ่ม ภาคนอกเวลา 1 กลุ่ม รวมรายชื่อเรียนนักศึกษาทั้งสิ้น 118 คน แจ้งให้ทำกิจกรรมติดตามข่าวสารจากอาจารย์ทั้งในGoogleBuzz และใน Blogger แล้วมีผู้ใส่ใจติดตามอาจารย์เพียงแค่ 74คน (ตรวจสอบวันที่ 7/7/2554 เวลา 21.58 น.) และยังไม่แจ้งอีเมลแจ้งข้อมูลกลุ่ม และสร้างบล็อกตามที่กำหนดโจทย์ให้อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบในชั้นเรียน ดังนั้นภายในในสัปดาห์นี้จึงได้ปิดรับการแก้ไข หรือให้สิทธิ์ใดๆในการส่งงานผ่านทาง Google Apps เพราะถือว่าได้แจ้ง ครบ 3 ครั้งแล้ว ผู้เรียนที่ไม่แจ้งและทำตามข้อตกลง จึงถือว่าไม่ประสงค์รับการแจ้งข่าวสารและรับการประเมินผลด้านทักษะความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และยังจะส่งผลต่อเนื่องไปยังกิจกรรมอื่นๆเป็นลูกโซ่ต่อไป
Saturday, July 2, 2011
ดูสไลด์ผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์มืออาชีพระดับโลก
ดู-ศึกษา-เรียนรู้ด้วยตนเองจากผลงานมืออาชีพระดับโลก อาจารย์หามาให้ ดูแล้วได้ไอเดียขึ้นเยอะ แล้วก็คลิกหาต่อไปอีก ลองจัดใส่บล็อกของตัวเองบ้าง ทำไม่เป็นก็ถามในชั้นเรียนได้ อย่าเป็นใบ้ ไก๋ทำเป็นรู้เก็บไว้หากให้ดาวน์โหลด และอย่าลืมไปโพสต์ขอบคุณผู้แชร์งานให้เขาด้วย ได้ฝึกเขียนภาษา เป็นมารยาทที่ดี และนักศึกษาทุกคนต้องนำเสนอเผยแพร่ผลงานในลักษณะนี้ เร็วๆนี้ โปรดเตรียมการล่วงหน้า
vodafone Brand academy from slide share
คลิกดูสไลด์เรื่องของแบรนด์ ใส่ไว้ในคลังสมอง เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบว่าควรต้องเรียนรู้สาระเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านใดบ้าง และจะได้ทราบว่ากว่าจะทำผลงานแบรนด์ออกมาแต่ละชิ้นนั้น ต้องมีความรู้ มีทักษะและต้องเกียวข้องกับภาระงานของตนเองและผู้อื่น กระบวนการผลิตอื่นๆอย่างไรบ้าง อย่าดูแค่ผิวเผิน ประเมินตัวเองด้วยว่ายังขาดเหลืออะไร อยากให้อาจารย์สอนเสริมให้ด้านใดบ้าง วางเป้าหมายวิถีการเรียนรู้และค้นหาแก่นแท้ของความรู้ให้ตัวเองได้แล้ว
Friday, July 1, 2011
การสร้างบล็อกรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ รายสัปดาห์
ประกาศเรื่องการทำบล็อกสรุปและรายงานผลการเรียนรู้รายสัปดาห์ทั้งงานกลุ่มและเดี๋ยวส่วนตัว ทั้งในวิชาarti3314 และ arti3319
1.ก่อนอื่นต้องสร้างตามเงื่อนไขก่อนคือ สร้างURL ของBlogger ด้วยชื่อจริงตามด้วย-arti3314 เช่น prachid-arti3314 ชื่อที่เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวที่ถูกต้องก็จะเป็น http://prachid-arti3314.blogspot.com หากสมัครไม่ได้ ไม่ผ่าน ก็คงเพราะมีชื่อซ้ำ ก็เพิ่มอักขระนามสกุลตามหลังชื่อเข้าไปสักตัว หากยังไม่ได้อีก ก็แสดงว่าเริ่มเห็นอนาคตแล้วหละ่ว่า เรียนซ้ำอีกแน่นอน....ฮา...
2.เข้าจัดการให้จัดออกแบบชุดรูปแบบจัดเอง กำหนดหน้าเว็บบล็อกเป็น 3 คอลัมน์ ความกว้างของหน้า 980px แถบด้านข้างซ้าย-ขวากว้าง 200 px โดยให้ใช้ภาพพื้นหลังด้วยไฟล์ที่อาจารย์แชร์ให้ในโฟลเดอร์ส่งงานในgoogledocs ชื่อไฟล์ภาพ Artchandra-ict-tqf-blogspot-background....jpg เป็นภาพพื้นหลังให้เหมือนกันทุกคน สีเทาจะเป็นของวิชา arti3314 สีเหลืองเป็นของ arti3319 เพื่อเป็นการนำเอากราฟิกเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ช่วยกันทำให้ดี ให้สวยตรวจสอบความชัดเจนในการอ่าน เช่นจัดแบบอักษร ขนาด สีสัน สร้างสรรค์ให้เป็นโปรไฟล์ที่ให้เกียรติแก่ สถาบันที่เรียน ต่อชาติวงศ์ตระกูลตนเอง และให้มีสาระน่าเชื่อถือ ด้วยสติและปัญญาเยี่ยงผู้จะจบไปเป็นบัณฑิตที่จะสรรค์สร้างผลงานอันล้ำเลิศให้แก่สังคม หากทำไม่ได้ไม่เข้าใจให้สอบถามอาจารย์และผู้รู้หรือแม้แต่เพื่อนๆเราเอง อย่าทำโดยไม่รู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อสร้างเว็บแล้วมันก็คือการป่าวประกาศให้ชาวโลกได้รู้ด้วย กิจกรรมนี้เน้นให้ศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและผู้พิพากษาไปในตัว
3.เริ่มใส่ widget ด้านข้างดูก่อน ทดลองด้วยตนเองก่อนว่ามีผลต่อความกว้างเทมเพลทที่ตั้งค่าอย่าไรบ้าง แล้วบันทึกใส่บล็อกไว้ เช่น Counter หรือตัวนับจำนวนผู้ชม ส่วนที่ยาก ให้สอบถามอาจารย์ โดยจะแนะนำในชั่วโมงเรียน ช่วงครึ่งช่วโมงแรก หากอยากรู้อยากได้ก็เข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา
4.ให้ติดตามเว็บบล็อกของแต่ละวิชาที่เรียนกับอาจารย์และของเพื่อนๆ ที่เริ่มทำอย่างมีสาระแล้ว หากใครยังไร้สาระก็ยั้งมือไว้ก่อน จนกว่าเขาจะได้สติ อย่าหน้ามืดติดตามโดยไม่ฉุกคิดว่าเราได้อะไร เพราะเหมือนกับเราไปสนับสนุนเขาด้วย เพราะ concept ความว่างเปล่า หรือ Space ฟรือ Less but More จะใช้ไม่ได้ในวิชาของอาจารย์
1.ก่อนอื่นต้องสร้างตามเงื่อนไขก่อนคือ สร้างURL ของBlogger ด้วยชื่อจริงตามด้วย-arti3314 เช่น prachid-arti3314 ชื่อที่เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวที่ถูกต้องก็จะเป็น http://prachid-arti3314.blogspot.com หากสมัครไม่ได้ ไม่ผ่าน ก็คงเพราะมีชื่อซ้ำ ก็เพิ่มอักขระนามสกุลตามหลังชื่อเข้าไปสักตัว หากยังไม่ได้อีก ก็แสดงว่าเริ่มเห็นอนาคตแล้วหละ่ว่า เรียนซ้ำอีกแน่นอน....ฮา...
2.เข้าจัดการให้จัดออกแบบชุดรูปแบบจัดเอง กำหนดหน้าเว็บบล็อกเป็น 3 คอลัมน์ ความกว้างของหน้า 980px แถบด้านข้างซ้าย-ขวากว้าง 200 px โดยให้ใช้ภาพพื้นหลังด้วยไฟล์ที่อาจารย์แชร์ให้ในโฟลเดอร์ส่งงานในgoogledocs ชื่อไฟล์ภาพ Artchandra-ict-tqf-blogspot-background....jpg เป็นภาพพื้นหลังให้เหมือนกันทุกคน สีเทาจะเป็นของวิชา arti3314 สีเหลืองเป็นของ arti3319 เพื่อเป็นการนำเอากราฟิกเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ช่วยกันทำให้ดี ให้สวยตรวจสอบความชัดเจนในการอ่าน เช่นจัดแบบอักษร ขนาด สีสัน สร้างสรรค์ให้เป็นโปรไฟล์ที่ให้เกียรติแก่ สถาบันที่เรียน ต่อชาติวงศ์ตระกูลตนเอง และให้มีสาระน่าเชื่อถือ ด้วยสติและปัญญาเยี่ยงผู้จะจบไปเป็นบัณฑิตที่จะสรรค์สร้างผลงานอันล้ำเลิศให้แก่สังคม หากทำไม่ได้ไม่เข้าใจให้สอบถามอาจารย์และผู้รู้หรือแม้แต่เพื่อนๆเราเอง อย่าทำโดยไม่รู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อสร้างเว็บแล้วมันก็คือการป่าวประกาศให้ชาวโลกได้รู้ด้วย กิจกรรมนี้เน้นให้ศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและผู้พิพากษาไปในตัว
3.เริ่มใส่ widget ด้านข้างดูก่อน ทดลองด้วยตนเองก่อนว่ามีผลต่อความกว้างเทมเพลทที่ตั้งค่าอย่าไรบ้าง แล้วบันทึกใส่บล็อกไว้ เช่น Counter หรือตัวนับจำนวนผู้ชม ส่วนที่ยาก ให้สอบถามอาจารย์ โดยจะแนะนำในชั่วโมงเรียน ช่วงครึ่งช่วโมงแรก หากอยากรู้อยากได้ก็เข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา
4.ให้ติดตามเว็บบล็อกของแต่ละวิชาที่เรียนกับอาจารย์และของเพื่อนๆ ที่เริ่มทำอย่างมีสาระแล้ว หากใครยังไร้สาระก็ยั้งมือไว้ก่อน จนกว่าเขาจะได้สติ อย่าหน้ามืดติดตามโดยไม่ฉุกคิดว่าเราได้อะไร เพราะเหมือนกับเราไปสนับสนุนเขาด้วย เพราะ concept ความว่างเปล่า หรือ Space ฟรือ Less but More จะใช้ไม่ได้ในวิชาของอาจารย์
Wednesday, June 29, 2011
งานคือคะแนน สำหรับวิชา arti3314 -1-2554 นับแต่สัปดาห์ที่ 2 ถึงสอบกลางภาคเรียน
กิจกรรมการเรียน งาน-การบ้านมีอะไรบ้าง ในเทอมนี้
1.ทำความเข้าใจกับกติกาที่อาจารย์วางให้เข้าใจ หากสงสัยให้สอบถามโดยตรงกับอาจารย์หรือ comment ฝากคำถามไว้ในเรื่องนี้หรือใน googleBuzz (ต้องสร้าง-แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลใส่รูปถ่ายในโปรไฟล์ก่อน)
- ติดตาม(Follow) arti3314.blogspot.comโดยคลิกปุ่มติดตาม
- สร้าง blog ที่ blogger.com โดยใช้ชื่อจริงตามด้วยรหัสวิชา เช่น prachid-arti3314 และจัดสาระเนื้อหาให้เรียบร้อยสวยงามเยี่ยงผู้ที่เล่าเรียนทางด้านวิชาชีพทางการออกแบบสื่อทัศน์(Visual Communication)
2. งานแปลบทความข่าวสารทางด้านการออกแบบกราิฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ดูรายละเอียดที่อาจารย์แชร์ไฟล์ใน GoogleDocs โดยต้องส่งไฟล์ร่าง(Draft)ที่แปลไว้ 3 เรื่อง เลือกรายงานเพียง 1 เรื่อง สรุปเป็นเอกสาร google docs หรือ google presentation ก่อนรายงานล่วงหน้า อย่างน้อย 1 วัน การรายงานหน้าชั้น ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที โดยให้บันทึกไฟล์วิดีโอด้วยโปรแกรมจับหน้าจอ(VDO Screen Capture)
เริมต้นรายงานเวลา 9.00 น.เรียงลำดับตามรายชื่อ เรียกชื่อแล้วไม่มาไม่พร้อม ให้ถือว่าไม่ประสงค์รับการประเมินในรายการงานนั้นๆ
3. งานกลุ่ม thaistar 2011 ส่งจริง ภายใน11สค.2554 ที่ กรมส่งเสริมฯ ดูรายละเอียดที่http://pdpd.dip.go.t h/
4 ทุกกลุ่มใช้วิธีเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบ Work-Based Learning คลิกอ่านที่นี่
***การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงโดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน
6.ทุกคนควรแบ่งปันความรู้และบันทึกสรุปผลการจัดการความรู้ของตนเองในวิชานี้ โดยให้ฝึกการเขียนบันทึกผลการเรียนรู้อย่างมีสาระ ใช้สติปัญญารู้จักรับผิดชอบทางลิขสิทธิ์ สิทธิทางปัญญาของผู้อื่นโดยการให้เกียรติอ้างอิงผลงาน แสดงที่มาทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ และรู้จักให้เกียรติต่อตนเอง วงค์ตระกูล ด้วยการนำเสนอ แสดงผลงานที่สร้างสรรค์ ผลการบันทึกการทำงานของตนเอง มาอรรถาธิบายเยี่ยงผู้รู้จริง อย่างรู้รับผิดชอบ โดยการเขียนบันทึกลงบล็อกของตนเองอย่างสมำ่เสมอทุกสับดาห์ และติดตามเพื่อนๆ เพื่อให้อาจารย์ประเมินผลทักษะ ICT Domain และควรใช้ Graphic Background ของบล็อก ตามที่อาจารย์กำหนดและแบ่งปันให้ใช้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์และเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ขององค์กรเรา ตามแบบอย่างที่อาจารย์สร้างต้นแบบบล็อกให้ดู-เผยแพร่ไว้นี้
1.ทำความเข้าใจกับกติกาที่อาจารย์วางให้เข้าใจ หากสงสัยให้สอบถามโดยตรงกับอาจารย์หรือ comment ฝากคำถามไว้ในเรื่องนี้หรือใน googleBuzz (ต้องสร้าง-แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลใส่รูปถ่ายในโปรไฟล์ก่อน)
- ติดตาม(Follow) arti3314.blogspot.comโดยคลิกปุ่มติดตาม
- สร้าง blog ที่ blogger.com โดยใช้ชื่อจริงตามด้วยรหัสวิชา เช่น prachid-arti3314 และจัดสาระเนื้อหาให้เรียบร้อยสวยงามเยี่ยงผู้ที่เล่าเรียนทางด้านวิชาชีพทางการออกแบบสื่อทัศน์(Visual Communication)
2. งานแปลบทความข่าวสารทางด้านการออกแบบกราิฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ดูรายละเอียดที่อาจารย์แชร์ไฟล์ใน GoogleDocs โดยต้องส่งไฟล์ร่าง(Draft)ที่แปลไว้ 3 เรื่อง เลือกรายงานเพียง 1 เรื่อง สรุปเป็นเอกสาร google docs หรือ google presentation ก่อนรายงานล่วงหน้า อย่างน้อย 1 วัน การรายงานหน้าชั้น ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที โดยให้บันทึกไฟล์วิดีโอด้วยโปรแกรมจับหน้าจอ(VDO Screen Capture)
เริมต้นรายงานเวลา 9.00 น.เรียงลำดับตามรายชื่อ เรียกชื่อแล้วไม่มาไม่พร้อม ให้ถือว่าไม่ประสงค์รับการประเมินในรายการงานนั้นๆ
3. งานกลุ่ม thaistar 2011 ส่งจริง ภายใน11สค.2554 ที่ กรมส่งเสริมฯ ดูรายละเอียดที่http://pdpd.dip.go.t
4 ทุกกลุ่มใช้วิธีเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบ Work-Based Learning คลิกอ่านที่นี่
***การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงโดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน
5.งานย่อยๆรายชั่วโมง เริ่มสัปดาห์ที่ 3 ตามขั้นตอนและหลักการ Design Work-Based Learning + 3ส/3R ที่สอน-แนะนำในชั้นเรียน6.ทุกคนควรแบ่งปันความรู้และบันทึกสรุปผลการจัดการความรู้ของตนเองในวิชานี้ โดยให้ฝึกการเขียนบันทึกผลการเรียนรู้อย่างมีสาระ ใช้สติปัญญารู้จักรับผิดชอบทางลิขสิทธิ์ สิทธิทางปัญญาของผู้อื่นโดยการให้เกียรติอ้างอิงผลงาน แสดงที่มาทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ และรู้จักให้เกียรติต่อตนเอง วงค์ตระกูล ด้วยการนำเสนอ แสดงผลงานที่สร้างสรรค์ ผลการบันทึกการทำงานของตนเอง มาอรรถาธิบายเยี่ยงผู้รู้จริง อย่างรู้รับผิดชอบ โดยการเขียนบันทึกลงบล็อกของตนเองอย่างสมำ่เสมอทุกสับดาห์ และติดตามเพื่อนๆ เพื่อให้อาจารย์ประเมินผลทักษะ ICT Domain และควรใช้ Graphic Background ของบล็อก ตามที่อาจารย์กำหนดและแบ่งปันให้ใช้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์และเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ขององค์กรเรา ตามแบบอย่างที่อาจารย์สร้างต้นแบบบล็อกให้ดู-เผยแพร่ไว้นี้
ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับหลักสูตรรายวิชา ARTI3314/ARTD3302
ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชา ศิลปกรรม
รหัสและชื่อวิชา รหัสหลักสูตรเดิมแปี 2548-2553 คือ ARTI3314,หลักสูตรปรับปรุงใหม่ 2554 คือ ARTD3302
ชื่อรายวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์(Graphic Design for Packaging)
จำนวนหน่วยกิต(ทฤษฏี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) หน่วยกิต 3(2-2-5)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปกรรม หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ผู้สอน
คำอธิบายรายวิชา(ใหม่)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี หลักการ ขั้นตอน วิธีการดำเนินการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานกราฟิกเพื่อการสื่อสาร การสื่อความหมายหรือการตกแต่ง ร่วมใช้กับโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องรองรับวัตถุประสงค์ของการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า การใช้งานหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งของฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้วัสดุ เทคโนโลยีการผลิตและการบรรจุ เทคโนโลยีทางการพิมพ์ ระบบการขนส่ง ข้อกำหนดกฏหมายทางสังคม สิ่งแวดล้อม และหน้าที่ทางการตลาด
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1เพื่อให้นักศึกษาตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
1.2เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีหลักการ และฝึกทักษะวิธีปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
1.3เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอแฟ้มผลงานและการสรุปรายงานผลการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามวิถีทางของนักออกแบบและทำงานได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรณยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางการออกแบบและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1การตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพนักออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
1.1.2 การมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในการนัดหมาย การรับ-ส่งผลงาน การเข้าร่วมกิจกรรมในหรือนอกชั้นเรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่นการเข้าชั้นเรียนตามเวลาและสม่ำเสมอ อย่างน้อย 80% การแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งในห้องเรียนและภาคสนาม
1.1.3 การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพการรักษาผลประโยชน์ในคุณค่าของผลงานการสร้างสรรค์ของตนเองและผู้อื่น
คณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขาวิชา ศิลปกรรม
รหัสและชื่อวิชา รหัสหลักสูตรเดิมแปี 2548-2553 คือ ARTI3314,หลักสูตรปรับปรุงใหม่ 2554 คือ ARTD3302
ชื่อรายวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์(Graphic Design for Packaging)
จำนวนหน่วยกิต(ทฤษฏี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) หน่วยกิต 3(2-2-5)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปกรรม หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ผู้สอน
คำอธิบายรายวิชา(ใหม่)
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี หลักการ ขั้นตอน วิธีการดำเนินการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานกราฟิกเพื่อการสื่อสาร การสื่อความหมายหรือการตกแต่ง ร่วมใช้กับโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องรองรับวัตถุประสงค์ของการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า การใช้งานหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งของฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้วัสดุ เทคโนโลยีการผลิตและการบรรจุ เทคโนโลยีทางการพิมพ์ ระบบการขนส่ง ข้อกำหนดกฏหมายทางสังคม สิ่งแวดล้อม และหน้าที่ทางการตลาด
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1เพื่อให้นักศึกษาตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
1.2เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีหลักการ และฝึกทักษะวิธีปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
1.3เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอแฟ้มผลงานและการสรุปรายงานผลการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามวิถีทางของนักออกแบบและทำงานได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรณยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางการออกแบบและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1การตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพนักออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
1.1.2 การมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในการนัดหมาย การรับ-ส่งผลงาน การเข้าร่วมกิจกรรมในหรือนอกชั้นเรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่นการเข้าชั้นเรียนตามเวลาและสม่ำเสมอ อย่างน้อย 80% การแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งในห้องเรียนและภาคสนาม
1.1.3 การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพการรักษาผลประโยชน์ในคุณค่าของผลงานการสร้างสรรค์ของตนเองและผู้อื่น
Sunday, June 26, 2011
การแปลสรุปบทความและรายงานการศึกษาค้นคว้าในวิชา
คำเตือนเรื่องการจัดทำรายงานแปลสรุปข่าวสารรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1 อาจารย์ให้หาเรื่องมาแปลมิใช่หรือครับ ไม่ใช่ให้ไปคัดลอกบทความของคนอื่นหรือจากเว็บอื่นมาใช้โดยตรง ทำอย่างนั้นเขาเรียกว่าขโมย หนักกว่าลอกงาน และอาจารย์เคยสอนเรื่องการจัดพิมพ์เอกสารรายงานที่ถูกต้องแล้วนะครับ ให้ศึกษาด้วยและอาจารย์เคยแจ้งในชั้นเรียนแล้วว่าต้องทำอย่างไร หากยังไม่ศึกษาและแก้ไข รับรองไม่รอดกลางเทอมและคงได้กลับมาเรียนใหม่อีกครั้งแน่
ก่อนแปลก็ควรต้องทำความรู้จักกับข่าวสารภาพผลงานและลองใช้เครื่องมือแปล แปลศัพท์ ลองวิเคราะห์ด้วยความรู้ที่มองเห็น ที่ตัวเองรู้ตามหลักการที่เรียนมา ว่ามีองค์ประกอบอะไรที่เราเข้าใจบ้าง ว่าเขาทำด้วยวัสดุอะไร ใช้สีอย่างไร ใช้ตัวอักษรแบบไหน อย่าก็อปปี้มาใส่อย่าคนที่สิ้นไร้ปัญญา และเมื่อแน่ใจว่าเป็นผลงานเขียน-แปลและการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นสำนวนของตัวเอง ทบทวน ลองให้คนอื่นช่วยอื่น เมื่อมั่นใจแล้วก็นำเผยแพร่ใน blogspot หรือโพสต์ลงใน buzz และแจ้งติดตามในไซต์ของอาจารย์ตามที่แจ้งแล้วได้เลย
ทุกคนควรต้องฝึกเขียนครับ อย่ากลัว อย่าท้อ ต้องรักการอ่าน ต้องให้เวลากับมันอีก เขียนปรับแก้และเพิ่มเติมทุกวัน อาจหารูปภาพผลงานตัวเองเปรียบเทียบแทรกสาระไว้หลายๆอย่าง เก็บเป็บฉบับร่างส่งให้อาจารย์และเพื่อนๆดูอ่าน-วิจารณ์ก่อน เพื่อจะได้ช่วยเลือกสรร เพิ่มเติมความรู้ก่อนเขียนและตัดสินใจเผยแพร่
ให้จำคำพูดของอาจารย์เอาไว้ว่า ไม่มีใครทำอะไรออกมาได้จากสมองที่โล่งกลวงและไร้สติได้หากคุณยังไม่เริ่มวันนี้ อาจารย์ก็จะให้เริ่มคุ้นเคยกับคำว่า "สันขวาน" เตือนให้อีกครั้ง
ก่อนแปลก็ควรต้องทำความรู้จักกับข่าวสารภาพผลงานและลองใช้เครื่องมือแปล แปลศัพท์ ลองวิเคราะห์ด้วยความรู้ที่มองเห็น ที่ตัวเองรู้ตามหลักการที่เรียนมา ว่ามีองค์ประกอบอะไรที่เราเข้าใจบ้าง ว่าเขาทำด้วยวัสดุอะไร ใช้สีอย่างไร ใช้ตัวอักษรแบบไหน อย่าก็อปปี้มาใส่อย่าคนที่สิ้นไร้ปัญญา และเมื่อแน่ใจว่าเป็นผลงานเขียน-แปลและการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นสำนวนของตัวเอง ทบทวน ลองให้คนอื่นช่วยอื่น เมื่อมั่นใจแล้วก็นำเผยแพร่ใน blogspot หรือโพสต์ลงใน buzz และแจ้งติดตามในไซต์ของอาจารย์ตามที่แจ้งแล้วได้เลย
ทุกคนควรต้องฝึกเขียนครับ อย่ากลัว อย่าท้อ ต้องรักการอ่าน ต้องให้เวลากับมันอีก เขียนปรับแก้และเพิ่มเติมทุกวัน อาจหารูปภาพผลงานตัวเองเปรียบเทียบแทรกสาระไว้หลายๆอย่าง เก็บเป็บฉบับร่างส่งให้อาจารย์และเพื่อนๆดูอ่าน-วิจารณ์ก่อน เพื่อจะได้ช่วยเลือกสรร เพิ่มเติมความรู้ก่อนเขียนและตัดสินใจเผยแพร่
ให้จำคำพูดของอาจารย์เอาไว้ว่า ไม่มีใครทำอะไรออกมาได้จากสมองที่โล่งกลวงและไร้สติได้หากคุณยังไม่เริ่มวันนี้ อาจารย์ก็จะให้เริ่มคุ้นเคยกับคำว่า "สันขวาน" เตือนให้อีกครั้ง
Friday, June 24, 2011
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้และทักษะทางการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
แหล่้งเรียนรู้เสริมและเผยแพร่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ และวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. ดูแลจัดการโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร: Packaging Design and Resources : Public Portal of Packaging Design Learning Achievement - Presentation for Fine and Applied Arts Division Students ,Chandrakasem Rajabhat University,Bangkok Thailand
Sunday, June 19, 2011
สัปดาห์แรกของการเรียนวิชา Graphic Design for Packaging
สวัสดี ผู้เรียนวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เปิดเทอมวันแรกเป็นวันอาทิตย์ ภาคนอกเวลา กลุ่มเรียน 201 เวลาเรียน 13.10-16.40 มีผู้ลงทะเบียนตามรายชื่อ 24 คน แต่มาเรียนเพียง 12 คน ครั้งแรกก็แนะนำวิชาเป็นธรรมเนียมและแจ้งเงื่อนไข วิธีการเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ การประเมินผลและภาพรวมของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปรับฐานความรู้และแหล่งเรียนรู้ เช่นการติดต่ออาจารย์ให้ใช้ prachid2009@gmail.com และให้ทุกคนติดตาม(Follow) GoogleBuzz และใช้อีเมลนี้เหมือนกันทุกคนเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการเรียนรู้ และการฝึกทักษะทางไอซีที การรายงานข่าวสารหน้าชั้นและมีการสอบก่อนเรียน โดยให้สมัครเรียนและสอบที่เว็บไซต์ www.clarolinethai.info และเว็บไซต์สำรองของสาขาวิชาศิลปกรรมที่ http://art.chandra.ac.th/claroline เกือบทุกคนทำได้เร็วเพราะมีพื้นฐานจากที่เรียนและเคยใช้งานระบบอีเลิร์นนิ่งมาก่อนเมื่อภาคเรียนที่ผ่านมาทุก ผู้ที่เข้าสอบออนไลน์ก็ได้คะแนนกิจกรรมนี้ 2.5 แต้มกันทุกคน เป็นการเสริมกำลังใจก่อนและเป็นรางวัลสำหรับ Attention ในวันแรกนี้ กลุ่มนี้ได้คะแนนเฉลี่ยเกือบถึงระดับกลางคือ ที่ 48.9% สั่งการบ้านคือให้เตรียมงานกิจกรรมกลุ่มย่อยไม่เกิน 3 คน ส่งงานประกวดThaistar2011 ใช้การเรียนการสอนในกิจกรรมนี้เป็นแบบWork-Based Learning โดยมอบหมายให้ทุกคนไปหาข้อมูลมาในครั้งหน้า
เงื่อนไขการเรียน
1.ใช้ gmail โดยลงทะเบียนด้วยชื่อจริง เพื่อเป็นระบบสื่อสารเดียวกัน เพื่อการประเมินผลกิจกรรมร่วมฝึกอื่นๆให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดส่วนตัว(Account Setting) โดยตั้งค่าใช้โหมดภาษาอังกฤษ
2.ติดต่อผู้สอนด้วยอีเมล prachid2009@gmail.com
3.ให้เปิดใช้งานผลิตภัณฑ์บริการของกูเกิ้ลคือ
- Google Profile ใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยเป็นจริง
- GoogleDocs ฝึกใช้งาน Documents และการ Share
- สร้าง Blog ของ Blogger โดยใช้ชื่อจริงนำหน้าแล้วตามด้วย-รหัสวิชา เช่น prachid-arti2314 เพื่อสรุปผลการเรียนรู้ในวิชานี้เป็นส่วนบุคคล - ติดตามบล็อกบันทึกการสอนของอาจารย์ที่ arti3314.blogspot.com
4.ให้สมัครเป็นสมาชิกและสมัครเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่ www.clarolinethai.info และเว็บไซต์สำรองที่ http://art.chandra.ac.th/claroline
- สมัครเป็นสมาชิกก่อน(ครั้งแรก) ใช้ภาษาอังกฤษ ใส่ข้อมูลและรูปถ่ายให้เรียบร้อย
- สมัครเรียนในวิชาที่เปิดสอน
- เมื่อเข้าวิชาแล้วให้เลือกสมัครเข้ากลุ่มเรียนของตนเอง(ตามกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน)
5.สมัครสมาชิกกลุ่มแสดงงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ http://issuu.com/groups/packaging
6.มาสาย 2 ครั้ง (เกิน 30 นาที ถือว่ามาสาย) นับเป็นขาด 1 ครั้ง
7. เวลาเรียนตลอดภาคเรียนต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะมีสิทธิ์รับการประเมินผลปลายภาคเรียน
8.กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าแปลสรุปข่าวสารความรู้ด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Weekly Report เรียงตามลำดับรายชื่อที่ลงทะเบียนเรียน ช่วง 30 นาที แรกของคาบเรียน ผู้ที่รายงานต้องส่งแชร์เอกสารให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนรายงานทุกครั้งอย่างน้อย 1 วัน
5.สมัครสมาชิกกลุ่มแสดงงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ http://issuu.com/groups/packaging
6.มาสาย 2 ครั้ง (เกิน 30 นาที ถือว่ามาสาย) นับเป็นขาด 1 ครั้ง
7. เวลาเรียนตลอดภาคเรียนต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะมีสิทธิ์รับการประเมินผลปลายภาคเรียน
8.กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าแปลสรุปข่าวสารความรู้ด้านการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Weekly Report เรียงตามลำดับรายชื่อที่ลงทะเบียนเรียน ช่วง 30 นาที แรกของคาบเรียน ผู้ที่รายงานต้องส่งแชร์เอกสารให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนรายงานทุกครั้งอย่างน้อย 1 วัน
Subscribe to:
Posts (Atom)