ภาพที่ 1. จิตรกรรมฝาผนัง วัดม่วง อ. วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
ที่มา:ประชิด ทิณบุตร. (2560)
|
มีผู้ให้ความหมายของทุนทางวัฒนธรรมไว้หลากหลาย ดังที่จะนำมากล่าวอ้างอิงให้เข้าใจร่วมกันคือ
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ กล่าวถึงความหมายของทุนทางวัฒนธรรมว่า ทุ่นทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับคุณค่า ความรู้คู่ภูมิปัญญา และงานสร้างสรรค์อันเกิดจากการค้นคว้าและค้นพบโดยผู้ทรงความรู้ในท้องถิ่น รวมทั้งค่านิยมและความเชื่อที่ผูกพันสังคม ทำให้เกิดการจัดระเบียบของสังคมหรือสร้างกฎกติกาที่เป็นคุณต่อสังคมโดยส่วนรวม รวมถึงกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต กล่าวว่า ทุนทางวัฒนธรรม คือ สิ่งที่ดีงามที่คนในอดีตคิด ทำขึ้น แสดงออกและสืบทอดด้วยการปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
สุนิสา ฉันท์รัตนโยธิน กล่าวว่า ทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีนัยทางวัฒนธรรมเรียกว่า ทุ่นวัฒนธรรม (Cultural Capital)
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ให้ความหมายของทุนวัฒนธรรมไว้ว่า ทุนวัฒนธรรม หมายถึง ทุนที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการที่มีนัยทางวัฒนธรรม สินค้าบริการใดที่มีวัฒนธรรมฝังตัวอยู่สินค้าและบริการเหล่านั้นคือสินค้าวัฒนธรรม (Cultural Products)
David ThrosBy ให้ความหมายของคำว่าทุนวัฒนธรรม ว่าหมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมมาในอดีต มีคุณค่าต่อมนุษย์และความต้องการของสังคมนอกเหนือจากการให้คุณค่าทางเศรษฐกิจ
กล่าวโดยสรุป ทุนทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีมูลค่า ที่สั่งสมมาในอดีตและถ่ายทอดรุ่นต่อรุน ทั้งเป็นสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยนำเอาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเหล่านั้นมาแปลงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีมูลค่าที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อวิถีชีวิตและสังคมในที่สุด
ที่มา https://channarongs22.wordpress.com/2012/01/27/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/
No comments:
Post a Comment