การส่งผลงานในสัปดาห์ที่ 6 ผลงานควรแล้วเสร็จแล้วทั้งโครงสร้างและกราฟิกอย่างน้อย 3 แบบ 3 ไอเดียพร้อมรายงานใน googledocs และตรวจสอบดูว่าผลงานที่ได้ออกแบบมานั้นว่า 1.มีความใหม่(New) 2.มีคุณภาพที่ดีกว่า(Better)และ3.มีความแตกต่าง(Difference) จากผลงานที่คนอื่นๆหรือในท้องตลาดหรือไม่ อย่างไร เวลานำเสนอผลงานให้ใช้หลักการนี้มาใช้ตรวจสอบ และแม้จะเป็นผลงานกลุ่มก็ตามเมื่อได้เนื้อหาที่ศึกษาหรือข้อตกลงเรื่องการทำโครงการร่วมกันแล้ว แต่ละคนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มก็ต้องทำงานเป็นแนวทางของตนเองออกมาโดยใช้แนวคิดสมมติฐานหรือโจทย์ร่วมกัน ใช้แบบกราฟิก ลวดลายตราสัญลักษณ์ร่วมกัย ข้อมูลสินค้าที่เป็นหลักร่วมหัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลงานออกมาเป็นทางเลือกที่แตกต่างหรือเป็นส่วนขยายออกมาเช่น คนแรกทำงานออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยย่อย คนที่สองทำเป็นยูนิต 3 ชิ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นของขวัญ คนที่สามทำออกมาเป็น display package เป็นแบบให้สะดวกแก่การจัดจำหน่าย หรือขยายผลงานให้ได้หลากหลายให้ครอบคลุมประเภทหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งานสินค้าและบรรจุภัณฑ์เป็นต้น
แต่เมื่อมีการนำเสนออาจารย์ในชั้นเรียนแล้ว นักศึกษากลับเป็นงานเพียงชิ้นเดียว อ้างยังไม่แล้วเสร็จ หรือมักกล่าวอ้างว่าก็ช่วยคิดไงครับ แม้กระทั่งตัวสินค้าก็ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ขนาดมิติที่แท้จริงเลย นักศึกษายังไม่ได้ทดลองกระทำหรือร่วมกันคิด แต่มักจะเน้นไปหาเนื้อหาและก็อปปี้มาใส่เป็นภาคเอกสาร โดยไม่มีการสรุปหรือแม้กระทั่งรูปสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้ๆตัวก็ยังไม่ดำเนินการถ่ายภาพ หรือนำมาศึกษาวิเคราะห์ตามที่อาจารย์ได้สอนและให้ดูผลงานตัวอย่างที่อาจารย์ทำงานจริงมาให้ดู และแจ้งผ่านทั้งทางอีเมล กูเกิ้ลบัซซ์หรือ กูเกิ้ลพลัสไปแล้วก็ตาม และมิใช่เป็นส่วนน้อย แต่เป็นแทบทุกกลุ่ม ไม่เหมือนนักศึกษาปีที่แล้ว(2553)ที่ทั้งหอบหิ้วผลงานพรุงพรังมาให้อาจารย์ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างกระตือรือล้น และสนุกสนานได้ผลงานออกมาจนแทบจะหาที่จัดเก็บไม่ได้ และที่สำคัญคือจำนวนผู้เรียนเริ่มลดลง เพราะัเริ่มถอนวิชาและขาดเรียนเกิน 4 ครั้งจนหมดสิทธิ์สอบ ซึ่งก็น่าเสียดายเวลาที่ต้องเรียนจบช้าไปอีก 1 ปี อย่างแน่นอน
หากตั้งใจมาเรียนและฝึกปฏิบัติและรู้จักรับผิดชอบตามที่อาจารย์มอบหมายงานให้และทดลองฝึกฝนตามกระบวนการที่สั่งสอนก็คงไม่เป็นเช่นนี้ สงสารผู้ปกครองจริงๆ และหากเขาดูวิดีโอคลิบที่อาจารย์หามาให้คลิกดูนี้ ก็คงจะเข้าใจยิ่งขึ้นนะครับและโอกาสหน้าก็ปรับตัวเสียใหม่นะครับ ลองคลิกดูคลิปนี้สักสองครั้งว่าเราเองเข้าใจได้ระดับใด คล้ายกับหลักการวิธีการที่อาจารย์สอนไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะลองทำตามได้ในประเด็นใดบ้าง หากได้ลองก็แสดงว่า คุณได้เริ่มคิดได้แล้ว อย่ารีรอ
เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Graphic Design for Packaging (ARTD3302, ARTI3314) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. Lecturer : Asistant Professor Prachid Tinnabutr Art Department ,Chandrakasem Rajabhat University,Thailand.
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment