
เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Graphic Design for Packaging (ARTD3302, ARTI3314) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. Lecturer : Asistant Professor Prachid Tinnabutr Art Department ,Chandrakasem Rajabhat University,Thailand.
Sunday, July 31, 2011
สัปดาห์ที่ 5-6 ติดตามงานกลุ่ม ThaiStar2011 ขั้นตอน ส1.และส2.ตามกระบวนการออกแบบ
การส่งผลงานในสัปดาห์ที่ 6 ผลงานควรแล้วเสร็จแล้วทั้งโครงสร้างและกราฟิกอย่างน้อย 3 แบบ 3 ไอเดียพร้อมรายงานใน googledocs และตรวจสอบดูว่าผลงานที่ได้ออกแบบมานั้นว่า 1.มีความใหม่(New) 2.มีคุณภาพที่ดีกว่า(Better)และ3.มีความแตกต่าง(Difference) จากผลงานที่คนอื่นๆหรือในท้องตลาดหรือไม่ อย่างไร เวลานำเสนอผลงานให้ใช้หลักการนี้มาใช้ตรวจสอบ และแม้จะเป็นผลงานกลุ่มก็ตามเมื่อได้เนื้อหาที่ศึกษาหรือข้อตกลงเรื่องการทำโครงการร่วมกันแล้ว แต่ละคนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มก็ต้องทำงานเป็นแนวทางของตนเองออกมาโดยใช้แนวคิดสมมติฐานหรือโจทย์ร่วมกัน ใช้แบบกราฟิก ลวดลายตราสัญลักษณ์ร่วมกัย ข้อมูลสินค้าที่เป็นหลักร่วมหัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลงานออกมาเป็นทางเลือกที่แตกต่างหรือเป็นส่วนขยายออกมาเช่น คนแรกทำงานออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยย่อย คนที่สองทำเป็นยูนิต 3 ชิ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นของขวัญ คนที่สามทำออกมาเป็น display package เป็นแบบให้สะดวกแก่การจัดจำหน่าย หรือขยายผลงานให้ได้หลากหลายให้ครอบคลุมประเภทหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งานสินค้าและบรรจุภัณฑ์เป็นต้น
แต่เมื่อมีการนำเสนออาจารย์ในชั้นเรียนแล้ว นักศึกษากลับเป็นงานเพียงชิ้นเดียว อ้างยังไม่แล้วเสร็จ หรือมักกล่าวอ้างว่าก็ช่วยคิดไงครับ แม้กระทั่งตัวสินค้าก็ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด ขนาดมิติที่แท้จริงเลย นักศึกษายังไม่ได้ทดลองกระทำหรือร่วมกันคิด แต่มักจะเน้นไปหาเนื้อหาและก็อปปี้มาใส่เป็นภาคเอกสาร โดยไม่มีการสรุปหรือแม้กระทั่งรูปสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้ๆตัวก็ยังไม่ดำเนินการถ่ายภาพ หรือนำมาศึกษาวิเคราะห์ตามที่อาจารย์ได้สอนและให้ดูผลงานตัวอย่างที่อาจารย์ทำงานจริงมาให้ดู และแจ้งผ่านทั้งทางอีเมล กูเกิ้ลบัซซ์หรือ กูเกิ้ลพลัสไปแล้วก็ตาม และมิใช่เป็นส่วนน้อย แต่เป็นแทบทุกกลุ่ม ไม่เหมือนนักศึกษาปีที่แล้ว(2553)ที่ทั้งหอบหิ้วผลงานพรุงพรังมาให้อาจารย์ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างกระตือรือล้น และสนุกสนานได้ผลงานออกมาจนแทบจะหาที่จัดเก็บไม่ได้ และที่สำคัญคือจำนวนผู้เรียนเริ่มลดลง เพราะัเริ่มถอนวิชาและขาดเรียนเกิน 4 ครั้งจนหมดสิทธิ์สอบ ซึ่งก็น่าเสียดายเวลาที่ต้องเรียนจบช้าไปอีก 1 ปี อย่างแน่นอน

Monday, July 18, 2011
แนวทางการคิดพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ประเภทขนม cupcake

Saturday, July 16, 2011
เครื่้องมือออนไลน์ฟรีและง่ายๆ ช่วยในการคิด-วิเคราะห์และสร้างสรรค์งานออกแบบโลโก้สินค้าใหม่
ปัจจุบันนี้มีการบริการด้านเครื่องมือช่วยทำงานและคิด-วิเคราะห์ ในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบบนเว็บไซต์มากมาย ให้ใช้กันทันทีและแทบจะไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางการออกแบบด้วยซ้ำไป มีทั้งเสียเงินและแบบฟรีจริงๆหรือมีข้อแม้และได้ประโยชน์ร่วม เช่นที่http://socialmedia.trademarkia.com/logo-creator-free-advanced.aspx แบบฟรีที่ไม่ต้องลงทะเบียน อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ รู้จักชื่อแบบตัวอักษร เทคนิคกราฟิกพิเศษที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ www.logomaker.com นี้ก็ได้ใช้ความรู้เรื่องการที่ต้องทราบวิธีการและขั้นตอน เพียง 4 ขั้นตอนนับแต่การที่ต้องสมัครเป็นสมาชิกจนถึงการที่ต้องทราบว่าผลงานที่เราทดลองสร้างนั้นถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน และต้องเอาออกจากเว็บไซต์เขาอย่างไร หรือต้องเสียเงินเสียทองจ่ายทางบัตรเครดิตราคาเท่าใดและอย่างไรจึงจะได้ต้นแบบไฟล์มาใช้งานจริง หรือเมื่อได้ภาพจริงมาแล้ว จะมีคุณภาพ(Resulotions)ที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ระดับใดได้บ้าง มีเครื่องมือและตัวจัดการงานที่ดีกว่าของฟรีจริงๆ(Absolutly Free)ในประเด็นใดบ้าง และใน www.onlinelogomaker.com ก็มีเครื่องมือที่ดีกว่า มีรูปภาพสำเร็จรูปมาให้เลือกใช้พร้อม ชนิดที่ว่าแค่จับวางหรือปรับเปลี่ยนดัดแปลงต่อได้ง่ายๆแบบว่าเก่งในพริบตา ใช้เวลาเพียง 10 นาทีก็เสร็จ ซึ่งประสบการณ์ในการเข้าใช้งานจริงเท่านั้น นักศึกษาจึงจะทราบความจริงว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง และได้ทราบแนวทางการนำไปปรับประยุกต์ใช้ทั้งในวิถีการเรียนรู้หรือใช้ร่วมกับการทำงานจริง

ให้นักศึกษาลองใช้คำสืบค้นว่า free online logo maker หรือ logo creator ดูครับ แต่อย่านำมาใช้โดยตรงเพราะจะไม่เปป็นการฝึกคิดจากโจทย์ที่ตั้ง แต่จะเป็นการดันทุรังสร้าง concept ใส่กราฟิกแทนแล้วนำมาบอกว่าตนเองเป็นผู้ออกแบบ อย่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้...แล้วไป แต่หากคนอื่นรู้แล้วจะอายเขาภายหลัง นำมาเทียบเคียงได้ก็นำมาอ้างอิงว่าศึกษาหามาใช้จากไหนเป็นเชิงวิชาการได้และเป็นมารยาทที่ดี เพราะเราเป็นนักศึกษาและส่งในวิชาที่เรียนได้ หากเราเป็นมืออาชีพเมื่อไรแล้วเขาคงไม่ให้อภัยในการขโมยผลงานของผู้อื่นมาใช้อย่างแน่นอน
ลองศึกษาแล้วบันทึก จด จำ เขียน แล้วบอกต่ออย่าหวังพึ่งแต่เพื่อนให้ช่วยทำหรือว่าจ้างรุ่นพี่ทำงานเรียนให้เพื่อส่งอาจารย์ เวลาส่งและนำเสนองานแล้วถูกสอบทานกลับและตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้ เวลานั้นจะรู้สึกหน้าชาๆ แต่...หรือว่าเฉยๆทำเนียน เพราะทุกวันนี้นักศึกษาพอกหน้าหนาๆก่อนเข้าห้อง present ก็ไม่รู้ง่ะ เอ๊ย! นะ
ก็บันทึกเผยแพร่ไว้ครับตามประสาครูบาอาจารย์ เผื่อผู้อยากเจริญทางปัญญา เผอิญผ่านมาพบเข้า
ก็บันทึกเผยแพร่ไว้ครับตามประสาครูบาอาจารย์ เผื่อผู้อยากเจริญทางปัญญา เผอิญผ่านมาพบเข้า
Wednesday, July 13, 2011
สัปดาห์ที่ 4 ดิดตามงานกลุ่ม ThaiStar2011 ขั้นตอน ส1.และส2.

Sunday, July 10, 2011
วิธีการที่จะเข้าได้เข้าถึงการเรียนรู้แบบ การคิดวิเคราะห์ในการทำงานออกแบบจากสถานการณ์จริง
ดูภาพสินค้าอื่นๆได้จาก Picasa Web Album ของอาจารย์ที่นี่ หรือไม่ก็ไปหาของจริงมาวิเคราะห์และพัฒนาเองก็ได้ จะได้ทราบว่าตัวเองหรือกลุ่มทำงานจะมีความสามารถลงมือทำการผลิตได้จริง จากสินค้าง่ายๆใกล้ตัวและตอบโจทย์ที่อาจารย์ตั้งให้ได้อย่างไร
จำไว้ว่า ผู้ใด กลุ่มใดไม่นำเสนออย่างมีทิศทาง ย่อมจะไม่ผ่านการประเมินตามวิถีและตามเกณฑ์การเรียนรู้เช่นกัน
Week4:กระบวนการและขั้นตอนการออกแบบ(The Design Process)
กระบวนการออกแบบที่อาจารย์แชร์ให้ทุกคนที่แจ้งอีเมลในแบบประเมินผลไปแล้ว ให้นักศึกษาแต่ละคนดูและทำความเข้าใจ ขยายความ ตีความและศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจึงทดลองดำเนินการตามขั้นตอนสัก 2- 3 แบบ เพื่อเป็นแบบทางเลือก สำหรับวิธีการเขียนรายงานก็ให้ไปดูใน sites.google.com/site/artthesis กรณีศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น และดูไฟล์ตัวอย่างแนวทางการออกแบบรรจุภัณฑ์จาก slideshare.net ที่อาจารย์เผยแพร่ให้ศึกษาด้วยตนเองแล้ว
Wednesday, July 6, 2011
สัปดาห์ที่ 3 ติดตามงานโครงการออกแบบThaistar2011


1.เข้าสัปดาห์ที่ 3ของการเรียนการสอนแล้ว ตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน มีกลุ่มเรียน 4 กลุ่ม ภาคปกติ 3 กลุ่ม ภาคนอกเวลา 1 กลุ่ม รวมรายชื่อเรียนนักศึกษาทั้งสิ้น 118 คน แจ้งให้ทำกิจกรรมติดตามข่าวสารจากอาจารย์ทั้งในGoogleBuzz และใน Blogger แล้วมีผู้ใส่ใจติดตามอาจารย์เพียงแค่ 74คน (ตรวจสอบวันที่ 7/7/2554 เวลา 21.58 น.) และยังไม่แจ้งอีเมลแจ้งข้อมูลกลุ่ม และสร้างบล็อกตามที่กำหนดโจทย์ให้อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบในชั้นเรียน ดังนั้นภายในในสัปดาห์นี้จึงได้ปิดรับการแก้ไข หรือให้สิทธิ์ใดๆในการส่งงานผ่านทาง Google Apps เพราะถือว่าได้แจ้ง ครบ 3 ครั้งแล้ว ผู้เรียนที่ไม่แจ้งและทำตามข้อตกลง จึงถือว่าไม่ประสงค์รับการแจ้งข่าวสารและรับการประเมินผลด้านทักษะความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และยังจะส่งผลต่อเนื่องไปยังกิจกรรมอื่นๆเป็นลูกโซ่ต่อไป
Saturday, July 2, 2011
ดูสไลด์ผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์มืออาชีพระดับโลก
ดู-ศึกษา-เรียนรู้ด้วยตนเองจากผลงานมืออาชีพระดับโลก อาจารย์หามาให้ ดูแล้วได้ไอเดียขึ้นเยอะ แล้วก็คลิกหาต่อไปอีก ลองจัดใส่บล็อกของตัวเองบ้าง ทำไม่เป็นก็ถามในชั้นเรียนได้ อย่าเป็นใบ้ ไก๋ทำเป็นรู้เก็บไว้หากให้ดาวน์โหลด และอย่าลืมไปโพสต์ขอบคุณผู้แชร์งานให้เขาด้วย ได้ฝึกเขียนภาษา เป็นมารยาทที่ดี และนักศึกษาทุกคนต้องนำเสนอเผยแพร่ผลงานในลักษณะนี้ เร็วๆนี้ โปรดเตรียมการล่วงหน้า
vodafone Brand academy from slide share
คลิกดูสไลด์เรื่องของแบรนด์ ใส่ไว้ในคลังสมอง เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบว่าควรต้องเรียนรู้สาระเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านใดบ้าง และจะได้ทราบว่ากว่าจะทำผลงานแบรนด์ออกมาแต่ละชิ้นนั้น ต้องมีความรู้ มีทักษะและต้องเกียวข้องกับภาระงานของตนเองและผู้อื่น กระบวนการผลิตอื่นๆอย่างไรบ้าง อย่าดูแค่ผิวเผิน ประเมินตัวเองด้วยว่ายังขาดเหลืออะไร อยากให้อาจารย์สอนเสริมให้ด้านใดบ้าง วางเป้าหมายวิถีการเรียนรู้และค้นหาแก่นแท้ของความรู้ให้ตัวเองได้แล้ว
Friday, July 1, 2011
การสร้างบล็อกรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ รายสัปดาห์
ประกาศเรื่องการทำบล็อกสรุปและรายงานผลการเรียนรู้รายสัปดาห์ทั้งงานกลุ่มและเดี๋ยวส่วนตัว ทั้งในวิชาarti3314 และ arti3319
1.ก่อนอื่นต้องสร้างตามเงื่อนไขก่อนคือ สร้างURL ของBlogger ด้วยชื่อจริงตามด้วย-arti3314 เช่น prachid-arti3314 ชื่อที่เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวที่ถูกต้องก็จะเป็น http://prachid-arti3314.blogspot.com หากสมัครไม่ได้ ไม่ผ่าน ก็คงเพราะมีชื่อซ้ำ ก็เพิ่มอักขระนามสกุลตามหลังชื่อเข้าไปสักตัว หากยังไม่ได้อีก ก็แสดงว่าเริ่มเห็นอนาคตแล้วหละ่ว่า เรียนซ้ำอีกแน่นอน....ฮา...
2.เข้าจัดการให้จัดออกแบบชุดรูปแบบจัดเอง กำหนดหน้าเว็บบล็อกเป็น 3 คอลัมน์ ความกว้างของหน้า 980px แถบด้านข้างซ้าย-ขวากว้าง 200 px โดยให้ใช้ภาพพื้นหลังด้วยไฟล์ที่อาจารย์แชร์ให้ในโฟลเดอร์ส่งงานในgoogledocs ชื่อไฟล์ภาพ Artchandra-ict-tqf-blogspot-background....jpg เป็นภาพพื้นหลังให้เหมือนกันทุกคน สีเทาจะเป็นของวิชา arti3314 สีเหลืองเป็นของ arti3319 เพื่อเป็นการนำเอากราฟิกเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ช่วยกันทำให้ดี ให้สวยตรวจสอบความชัดเจนในการอ่าน เช่นจัดแบบอักษร ขนาด สีสัน สร้างสรรค์ให้เป็นโปรไฟล์ที่ให้เกียรติแก่ สถาบันที่เรียน ต่อชาติวงศ์ตระกูลตนเอง และให้มีสาระน่าเชื่อถือ ด้วยสติและปัญญาเยี่ยงผู้จะจบไปเป็นบัณฑิตที่จะสรรค์สร้างผลงานอันล้ำเลิศให้แก่สังคม หากทำไม่ได้ไม่เข้าใจให้สอบถามอาจารย์และผู้รู้หรือแม้แต่เพื่อนๆเราเอง อย่าทำโดยไม่รู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อสร้างเว็บแล้วมันก็คือการป่าวประกาศให้ชาวโลกได้รู้ด้วย กิจกรรมนี้เน้นให้ศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและผู้พิพากษาไปในตัว
3.เริ่มใส่ widget ด้านข้างดูก่อน ทดลองด้วยตนเองก่อนว่ามีผลต่อความกว้างเทมเพลทที่ตั้งค่าอย่าไรบ้าง แล้วบันทึกใส่บล็อกไว้ เช่น Counter หรือตัวนับจำนวนผู้ชม ส่วนที่ยาก ให้สอบถามอาจารย์ โดยจะแนะนำในชั่วโมงเรียน ช่วงครึ่งช่วโมงแรก หากอยากรู้อยากได้ก็เข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา
4.ให้ติดตามเว็บบล็อกของแต่ละวิชาที่เรียนกับอาจารย์และของเพื่อนๆ ที่เริ่มทำอย่างมีสาระแล้ว หากใครยังไร้สาระก็ยั้งมือไว้ก่อน จนกว่าเขาจะได้สติ อย่าหน้ามืดติดตามโดยไม่ฉุกคิดว่าเราได้อะไร เพราะเหมือนกับเราไปสนับสนุนเขาด้วย เพราะ concept ความว่างเปล่า หรือ Space ฟรือ Less but More จะใช้ไม่ได้ในวิชาของอาจารย์
1.ก่อนอื่นต้องสร้างตามเงื่อนไขก่อนคือ สร้างURL ของBlogger ด้วยชื่อจริงตามด้วย-arti3314 เช่น prachid-arti3314 ชื่อที่เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวที่ถูกต้องก็จะเป็น http://prachid-arti3314.blogspot.com หากสมัครไม่ได้ ไม่ผ่าน ก็คงเพราะมีชื่อซ้ำ ก็เพิ่มอักขระนามสกุลตามหลังชื่อเข้าไปสักตัว หากยังไม่ได้อีก ก็แสดงว่าเริ่มเห็นอนาคตแล้วหละ่ว่า เรียนซ้ำอีกแน่นอน....ฮา...
2.เข้าจัดการให้จัดออกแบบชุดรูปแบบจัดเอง กำหนดหน้าเว็บบล็อกเป็น 3 คอลัมน์ ความกว้างของหน้า 980px แถบด้านข้างซ้าย-ขวากว้าง 200 px โดยให้ใช้ภาพพื้นหลังด้วยไฟล์ที่อาจารย์แชร์ให้ในโฟลเดอร์ส่งงานในgoogledocs ชื่อไฟล์ภาพ Artchandra-ict-tqf-blogspot-background....jpg เป็นภาพพื้นหลังให้เหมือนกันทุกคน สีเทาจะเป็นของวิชา arti3314 สีเหลืองเป็นของ arti3319 เพื่อเป็นการนำเอากราฟิกเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ช่วยกันทำให้ดี ให้สวยตรวจสอบความชัดเจนในการอ่าน เช่นจัดแบบอักษร ขนาด สีสัน สร้างสรรค์ให้เป็นโปรไฟล์ที่ให้เกียรติแก่ สถาบันที่เรียน ต่อชาติวงศ์ตระกูลตนเอง และให้มีสาระน่าเชื่อถือ ด้วยสติและปัญญาเยี่ยงผู้จะจบไปเป็นบัณฑิตที่จะสรรค์สร้างผลงานอันล้ำเลิศให้แก่สังคม หากทำไม่ได้ไม่เข้าใจให้สอบถามอาจารย์และผู้รู้หรือแม้แต่เพื่อนๆเราเอง อย่าทำโดยไม่รู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อสร้างเว็บแล้วมันก็คือการป่าวประกาศให้ชาวโลกได้รู้ด้วย กิจกรรมนี้เน้นให้ศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและผู้พิพากษาไปในตัว
3.เริ่มใส่ widget ด้านข้างดูก่อน ทดลองด้วยตนเองก่อนว่ามีผลต่อความกว้างเทมเพลทที่ตั้งค่าอย่าไรบ้าง แล้วบันทึกใส่บล็อกไว้ เช่น Counter หรือตัวนับจำนวนผู้ชม ส่วนที่ยาก ให้สอบถามอาจารย์ โดยจะแนะนำในชั่วโมงเรียน ช่วงครึ่งช่วโมงแรก หากอยากรู้อยากได้ก็เข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา
4.ให้ติดตามเว็บบล็อกของแต่ละวิชาที่เรียนกับอาจารย์และของเพื่อนๆ ที่เริ่มทำอย่างมีสาระแล้ว หากใครยังไร้สาระก็ยั้งมือไว้ก่อน จนกว่าเขาจะได้สติ อย่าหน้ามืดติดตามโดยไม่ฉุกคิดว่าเราได้อะไร เพราะเหมือนกับเราไปสนับสนุนเขาด้วย เพราะ concept ความว่างเปล่า หรือ Space ฟรือ Less but More จะใช้ไม่ได้ในวิชาของอาจารย์
Subscribe to:
Posts (Atom)