เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ : Graphic Design for Packaging (ARTD3302, ARTI3314) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. Lecturer : Asistant Professor Prachid Tinnabutr Art Department ,Chandrakasem Rajabhat University,Thailand.
Tuesday, August 30, 2011
Week11, ส2. Resume สร้างสมมติฐานให้ปรากฏจากแบบร่างเป็นงาน Concept Rendering
ภาพบันทึกการตรวจและติดตามการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่เป็นข้อตกลง สัปดาห์ที่ 10
ภาพบันทึกการตรวจและติดตามการสร้างสรรค์ผลงานแบบรายบุคคล ของรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ final design project : kanchanaburi sweet corn product adaptation, preliminary research stage : ขั้นตอน ส1.การสืบค้น เริ่มต้นสร้างแนวคิด ทุกท่านดูแล้วคงเข้าใจได้ว่านักศึกษาแต่ละคน มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่งานระดับใด กรรมก็คือการกระทำ แต่หากไม่ทำกรรมก็จะตามสนอง...ครับ
Saturday, August 27, 2011
Green Choice Vendors Food Service Catalog ข้อมูลรูปแบบบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารและการบริการที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลรูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร(Food Package) ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพ(Bioplastic) เช่นการสกัดจากข้าวโพดและวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การอำนวยความสะดวก เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการสำหรับนักศึกษาที่เรียนทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งต้องรู้จักโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์(Packaging Structure)เช่น ประเภทของบรรจุภัณฑ์(Types of Package)รูปแบบบรรจุภัณฑ์(Form of Packaging)วัสดุบรรจุภัณฑ์(Packaging Materials) และศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง(Glossary of Packaging Terminology)เพื่อการระบุหรือเขียนแบบสื่อสารในแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ และยังเป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอันเกี่ยวข้องกับพื้นที่ของการที่จะการจัดวางข้อมูลและกราฟิก(Graphic & Printing Area)สำหรับบรรจุภัณฑ์(Graphic for Packaging)เพื่อสร้างอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ให้แก่บรรจุภัณฑ์นั่นเอง
Thursday, August 25, 2011
คลิปวิดีโอการสอนเรื่อง หลักการดำเนินงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามแนวทาง 3ส:3R
คลิปวิดีโอการสอนเรื่อง หลักการดำเนินงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามแนวทาง 3ส:3R โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร ภาคเรียนที่ 1/2554
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Prachid Tutorials : Design Direction from prachid tinnabutr on Vimeo.
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Prachid Tutorials : Design Direction บันทึกการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เรื่อง แนวทางการดำเนินการออกแบบตามแนวทาง 3ส:3R (Research,Resume and Results) ภาคเรียนที่1/2554 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม. เวลา 49 นาที
Tuesday, August 23, 2011
ขั้นตอน ส1.การสืบค้น ตัวอย่างแบบบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ที่นักศึกษาควรนำไปศึกษาดัดแปลงและปรับปรุงเป็นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับโจทย์งาน
ตัวอย่างแบบกล่องและบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ ที่ควรนำไปศึกษาแนวคิด วเคราะห์การออกแบบจัดวางแบบกราฟิกและรูปแบบโครงสร้าง เพื่อการนำไปดัดแปลงและปรับปรุงเป็นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับโจทย์ของเรา ให้ตรงประเด็น อย่ารอช้า อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ลงมือตัดแบบ วัดแบบ ขยับขยาย ยักย้าย ถ่ายเท คัดสรรความรู้ สิ่งดีเป็นมาตรฐานนี้เอาไว้ ใส่กราฟิก โลโก้ ลวดลาย Drawing วิเคราะห์ข้อมูลที่เห็นและที่จำเป็นต้องใช้ ต้องมี ใส่ลงไป แล้วเขียนแบบ ใหม่ ทำอาร์ตเวิร์คใหม่ หรือขึ้นรูปทำ 3 D ดูซิว่า เราทำได้หรือไม่ ถ่ายรูปหรือบันทึกหลักฐานการศึกษาทดลองเอาไว้เป็นขั้นเป็นตอนตามหลักการออกแบบที่อาจารย์สอน ทำตามขั้นตอนให้ได้ก่อน ทำไว้หลายๆแบบ ติดขัดอะไรก็นำเข้าห้องเรียนไปปรึกษาอาจารย์ทุกครั้ง Workshop learning เริ่มแล้ว ไม่ใช่เดินตัวเปล่า ลอยชายเข้าห้องเรียน ทำเฉยและอ้างว่าลืม... มุขเดิมๆใช้กับการเรียนวิชาของ อ.ชิดไม่ได้แล้วนะครับ แป็กมานักต่อนักแล้ว
ดู presentation 3D จากหน้าเว็บของ estudiocps.com
ดู presentation 3D จากหน้าเว็บของ estudiocps.com
Sunday, August 21, 2011
สัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป เริ่มติดตามงาน final design project เป็นรายบุคคล ตามขั้นตอน 3ส : 3R
นับแต่สัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป เริ่มติดตามงาน final project เป็นรายบุคคล ตามขั้นตอน 3 ส: 3R มีกิจกรรมทำ workshop และเก็บคะแนนในชั่วโม งเรียนทุกครั้ง ดังนั้น อย่าขาดเรียนและอย่ามา เรียนแบบมือเปล่า ต้องมีผลงานและอุปกรณ์ ทำงาน เครื่องเขียนติดมือมา ด้วย เสนอความก้าวหน้าทุกค รั้ง การที่ทำงานส่งออนไลน์ นั้น คราวนี้ไม่พอ ต้องเอาหลักฐานและผลงา นจริงมาแสดงและนำเสนอ ต่ออาจารย์ด้วยทุกครั้ ง สรุปบล๊อกทุกสัปดาห์
การเริ่มทำงานนั้นควรต้องศึกษาทั้งจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จริง ที่มีอยู่ในท้องตลาดแบบมาตรฐานว่ามีองค์ประกอบทางโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง เริ่มอย่างไร (How to start packaging design project) ก้มีวิธีการเริ่มต้นตามขั้นตอนที่1 ของวิธีการสืบค้น ส.1(Research) ดังเช่น
1.ศึกษาสำรวจ(Preliminary Research & Investigation)และจัดหาผลิตภัณฑ์ตามโจทย์ที่ตั้งให้และตามที่ต้องการนำมาเป้นโจทย์ หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมประเด็นปัญหา ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาระงานของนักออกแบบที่จะต้องทำงานก็คือ การออกแบบและหรือการพัฒนาแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง(Package Structural)หรืองานทางกราฟิกนั่นเอง(Graphics on Package)โดยที่ต้องมีความรู้และทฤษฎีมารองรับหรืออ้างอิงประกอบอย่างเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องทางวิชาการหรือการเรียนรู้ที่มีจรรยามารยาท และรู้จักรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองและผู้อื่น
2.การศึกษาวิเคราะห์สถานะของผลิตภัณฑ์(Product Analysis & Situations Study)ที่นำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง โดยใช้ทฤษฏีและหลักการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาเป็นเกณฑ์เพื่อจำแนกแยกแยะ วิเคราะห์ตามชนิดและประเภทจากสิ่งที่สังเกตุและบันทึกเป็นหลักฐานได้จริง ด้วยการใช้ทักษะทั้งวิถีทางของศิลปิน นักออกแบบ นักการตลาด นักสำรวจและนักวิจัย มาบูรณาการเข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือและฝีมือ ผ่านกระบวนการบันทึก จัดเก็บ แสดงและค้นคืนได้ด้วยทักษะการจัดการงานทางระบบสารสนเทศเสริมเติมเต็มเข้าไปให้สมบูรณ์ เช่นใช้โปรแกรมฟรีของ GoogleDocs, GoogleChrome Apps, Google+ ,Blogspot.com บันทึกการเรียนรู้ส่วนตัวที่อาจารย์สอนให้ หรือแม้กระทั่งใช้ Facebook ให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนรู้และสร้างโปรไฟล์ของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
การเริ่มทำงานนั้นควรต้องศึกษาทั้งจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จริง ที่มีอยู่ในท้องตลาดแบบมาตรฐานว่ามีองค์ประกอบทางโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง เริ่มอย่างไร (How to start packaging design project) ก้มีวิธีการเริ่มต้นตามขั้นตอนที่1 ของวิธีการสืบค้น ส.1(Research) ดังเช่น
1.ศึกษาสำรวจ(Preliminary Research & Investigation)และจัดหาผลิตภัณฑ์ตามโจทย์ที่ตั้งให้และตามที่ต้องการนำมาเป้นโจทย์ หลากหลายรูปแบบและครอบคลุมประเด็นปัญหา ซึ่งในที่นี้หมายถึงภาระงานของนักออกแบบที่จะต้องทำงานก็คือ การออกแบบและหรือการพัฒนาแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง(Package Structural)หรืองานทางกราฟิกนั่นเอง(Graphics on Package)โดยที่ต้องมีความรู้และทฤษฎีมารองรับหรืออ้างอิงประกอบอย่างเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องทางวิชาการหรือการเรียนรู้ที่มีจรรยามารยาท และรู้จักรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองและผู้อื่น
2.การศึกษาวิเคราะห์สถานะของผลิตภัณฑ์(Product Analysis & Situations Study)ที่นำมาเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างและกราฟิกต่างๆที่ปรากฏและถูกนำไปใช้จริงอะไรบ้าง โดยใช้ทฤษฏีและหลักการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาเป็นเกณฑ์เพื่อจำแนกแยกแยะ วิเคราะห์ตามชนิดและประเภทจากสิ่งที่สังเกตุและบันทึกเป็นหลักฐานได้จริง ด้วยการใช้ทักษะทั้งวิถีทางของศิลปิน นักออกแบบ นักการตลาด นักสำรวจและนักวิจัย มาบูรณาการเข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือและฝีมือ ผ่านกระบวนการบันทึก จัดเก็บ แสดงและค้นคืนได้ด้วยทักษะการจัดการงานทางระบบสารสนเทศเสริมเติมเต็มเข้าไปให้สมบูรณ์ เช่นใช้โปรแกรมฟรีของ GoogleDocs, GoogleChrome Apps, Google+ ,Blogspot.com บันทึกการเรียนรู้ส่วนตัวที่อาจารย์สอนให้ หรือแม้กระทั่งใช้ Facebook ให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนรู้และสร้างโปรไฟล์ของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
Tuesday, August 16, 2011
สัปดาห์ที่ 9 เริ่มงานออกแบบส่วนบุคคลโครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน
นับแต่สัปดาห์ที่ 9 นี้เป็นต้นไป เริ่มงานโครงการออกแบบส่วนบุคคล โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และกราฟิกบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ภายใต้การนิเทศและการประเมินผลเป็นรายบุคคล (Final Project)โดยให้นักศึกษาศึกษาตัวอย่างการดำเนินงานตรามขั้นตอนการออกแบบที่เป็นงานวิจัยและบริการชุมชนของจังหวัดกาญจนบุรี ได้ที่เว็บบล็อกของอาจารย์ ชื่อเว็บ การออกแบบและพัฒนาตราสัญลักษณ์เครือข่ายวิสาหกิจข้าวโพดหวาน กาญจนบุรี โครงการยกระดับขีดความสามารถการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี ปีงบประมาณ 2554 โดยที่นักศึกษาต้องเริ่มทำงานตามขั้นตอน 3 ส:3 R และตามกระบวนการออกแบบ โดยต้องมีการแสดงออกให้เห็นถึงกระบวนการคิดวิเคราะห์และการสร้างสรรค์ผลงานนับแต่ตั้งต้นคิด ประกอบด้วยการใช้ทักษะฝีมือ แสดงทักษะการเขียนสรุปภาคเอกสารวิชาการ ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และทักษะการใช้งานโปรแกรมทางดิจิตัลมีเดีย เพื่อช่วยคิดและช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกต้องตามระบบการผลิต เยี่ยงนักออกแบบฝึกหัด กระทั่งได้ผลงานต้นแบบสำเร็จจริงออกมา ที่สามารถนำเสนอ เผยแพร่เป็นแฟ้มผลงานแห่งตนเองได้ ทั้งนี้ให้เริ่มนำเสนอความก้าวหน้าตามลำดับขั้นตอนเป็นรายสัปดาห์ ให้แล้วเสร็จภายใน 7 สัปดาห์ นับแต่สัปดาห์ที่ 9 นี้เป็นต้นไป โดยที่อาจารย์จะทำหน้าทีเสมือน Managing/Art Director ในสถานประกอบการจริง ที่เรียกตรวจและติดตามการทำงานของนักออกแบบ ทำการสอนการใช้เครื่องมือที่หลากหลายให้รู้จักปรับประยุกต์เลือกใช้ ให้คำปรึกษางานเชิงเทคนิคและวิพากษ์ เพื่อการปรับแก้ให้ถูกต้อง และรับรองว่าครึ่งเทอมหลังนี่อาจารย์จัดเต็มให้เลย...ด้วยความยินดี
Monday, August 15, 2011
สัปดาห์ที่ 8 หยุดสอบกลางภาคและสรุปงานครึ่งเทอมแรก
ในสัปดาห์ที่ 8 เป็นช่วงการสอบกลางภาคเรียน จึงหยุดเรียนเพราะเป็นประกาศสอบของมหาวิทยาลัย และอาจารย์กต้องไปคุมสอบวิชาอื่นๆ จึงให้นักศึกษาเร่งสรุป-แก้ไขงานจัดสรุปเอกสารส่งใน Issuu.com และแก้ไขงานให้ดูอีกครั้ง ก่อนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดของ thaistar2011สำหรับกลุ่มที่มีแววว่าน่าจะพอจัดส่งได้ และช่วง 5-11 สิงหาคม เป็นช่วงที่แจ้งให้นักศึกษาทราบว่าอาจารย์จะตรวจงานและทำให้เสร็จก่อนวันที่ 11 สิงหาคม
ผลการตรวจให้คะแนนผลงานแต่ละชิ้น ก็ได้แชร์แจ้งให้ทราบนับแต่ต้นเทอมแล้ว ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนทุกอย่าง ใน googledocs ในเอกสาร spreadsheet ของทุกวิชาที่อาจารย์สอน และสำหรับผู้ที่หมดสิทธิ์สอบเพราะขาดเรียนเกิน 80% ไม่ส่งงานใดๆ ไม่เข้าสอบกลางภาคเรียน ก็คงทราบแล้วเองว่าควรต้องไปถอนวิชาหรือไม่หรือต้องเข้าชี้แจงแสดงหลักฐานขอคืนสิทธิ์ที่ตนเองควรจะได้อย่างไร
สรุปคะแนนแล้ว ตามที่ปรากฏในแบบบันทึกการวัดและประเมินผล ซึ่งจะไม่มีการตรวจรับ-ส่งผลงานย้อนหลังดังที่อาจารย์แจ้งไว้แต่ต้นแล้ว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักศึกษากลุ่มใดๆส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงาน thaistar2011 ในครั้งนี้ ซึ่งก็น่าเสียดายที่นักศึกษาไม่มีความพยายามและเห็นความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้มอบหมายให้ในครึ่งเทอมแรกนี้ และเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่า การทำกิจกรรมกลุ่มงานออกแบบในครั้งนี้ล้มเหลว โดยมีมากกว่า 95% ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ผู้เรียนลงทะเบียนวิชานี้ มี 4 กลุ่มเรียน ร่วม 118 คน แบ่งกลุ่มนำเสนองานเพียง 32 กลุ่ม(ไม่เกิน 3 คน) มีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมินกิจกรรมนี้เพียง 15 คน ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของผู้เรียนและความรับผิดชอบงานในฐานนะของผู้ที่คิดว่าจะจบการศึกษาออกไปเป็นนักออกแบบยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อตรวจสอบจำนวนผู้เรียนตามเกณฑ์เวลาเรียนไม่ถึง 80% แล้วจะต้องมีผู้ตกวิชานี้มากกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลงทะเบียนแน่นอน
แนะนำว่าในครึ่งเทอมหลังให้นักศึกษาเข้าอ่านสาระบล็อกของวิชานี้ด้วยนะครับว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้ ของบัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมจันทรเกษม คืออะไร โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มเรียน 103 หรืออีกฉายาหนึ่งซึ่งต่อไปจะตั้ืงชื่อให้ว่าเป็น นักศึกษามือเปล่า ที่ต้องการทำ hattrick ให้เล่าขานเป็นตำนานไว้สืบไป
ผลการตรวจให้คะแนนผลงานแต่ละชิ้น ก็ได้แชร์แจ้งให้ทราบนับแต่ต้นเทอมแล้ว ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนนและเกณฑ์การให้คะแนนทุกอย่าง ใน googledocs ในเอกสาร spreadsheet ของทุกวิชาที่อาจารย์สอน และสำหรับผู้ที่หมดสิทธิ์สอบเพราะขาดเรียนเกิน 80% ไม่ส่งงานใดๆ ไม่เข้าสอบกลางภาคเรียน ก็คงทราบแล้วเองว่าควรต้องไปถอนวิชาหรือไม่หรือต้องเข้าชี้แจงแสดงหลักฐานขอคืนสิทธิ์ที่ตนเองควรจะได้อย่างไร
สรุปคะแนนแล้ว ตามที่ปรากฏในแบบบันทึกการวัดและประเมินผล ซึ่งจะไม่มีการตรวจรับ-ส่งผลงานย้อนหลังดังที่อาจารย์แจ้งไว้แต่ต้นแล้ว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนักศึกษากลุ่มใดๆส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในงาน thaistar2011 ในครั้งนี้ ซึ่งก็น่าเสียดายที่นักศึกษาไม่มีความพยายามและเห็นความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้มอบหมายให้ในครึ่งเทอมแรกนี้ และเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่า การทำกิจกรรมกลุ่มงานออกแบบในครั้งนี้ล้มเหลว โดยมีมากกว่า 95% ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ผู้เรียนลงทะเบียนวิชานี้ มี 4 กลุ่มเรียน ร่วม 118 คน แบ่งกลุ่มนำเสนองานเพียง 32 กลุ่ม(ไม่เกิน 3 คน) มีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมินกิจกรรมนี้เพียง 15 คน ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเรื่องคุณภาพของผู้เรียนและความรับผิดชอบงานในฐานนะของผู้ที่คิดว่าจะจบการศึกษาออกไปเป็นนักออกแบบยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อตรวจสอบจำนวนผู้เรียนตามเกณฑ์เวลาเรียนไม่ถึง 80% แล้วจะต้องมีผู้ตกวิชานี้มากกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลงทะเบียนแน่นอน
แนะนำว่าในครึ่งเทอมหลังให้นักศึกษาเข้าอ่านสาระบล็อกของวิชานี้ด้วยนะครับว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้ ของบัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมจันทรเกษม คืออะไร โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มเรียน 103 หรืออีกฉายาหนึ่งซึ่งต่อไปจะตั้ืงชื่อให้ว่าเป็น นักศึกษามือเปล่า ที่ต้องการทำ hattrick ให้เล่าขานเป็นตำนานไว้สืบไป
Thursday, August 4, 2011
สรุปกิจกรรมตามโจทย์โครงการ ThaStar2011 Packaging design work-based learning
จากการทำกิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อพิจารณาให้สามารถส่งผลงานที่มีคุณภาพเข้าร่วมประกวดในโครงการ ThaiStar2011 ที่นักศึกษาทุกคนได้นำเสนอผลงานและแสดงนิทรรศการย่อมๆหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ที่ 7(31 ก.ค.-3 ส.ค.2554)และมีการสอบกลางภาคเรียนทางระบบออนไลน์ที่ คลาโรไลน์ไทย ดอตอินโฟ ไปแล้วนั้น สิ่งที่คุณและกลุ่มได้ทำงานแสดง คือผลสรุปที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว คือความเป็นจริง ปรากฏออกมาจริงที่คุณทราบด้วยตนเอง ว่าผลงานและการกระทำคือผลที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานและหลักฐานแสดง ในระหว่างการติดตามและตรวจสอบการทำงานตามขั้นตอนหลักการดำเนินงานออกแบบของ 3ส:3R : Design Direction (1 ส.สืบค้น ส2.สมมติฐาน ส3.สรุปผล : 1.Research 2.Resume 3.Result) การที่อาจารย์ต้องพูด ต้องแสดงบทบาท ลีลาต่างๆไป ก็เพื่อให้บังเกิดผลกระทบหรืออาจจะกระแทก กระตุ้นให้มีผลต่อผู้เรียนโดยรวม แต่บางจังหวะสายตาที่กราดดูอาจไปตกที่ใครบ้าง การแสดงลีลาที่เกรี้ยวกราด ก็เป็นตามบทบาทหน้าที่ผู้คุมชั้นเรียนให้เป็นไปตามทิศทางของแผนการสอน ให้ผู้ที่เอาเปรียบในการทำงานกลุ่ม ได้รู้สำนึกหรือแม้แต่ตัวคุณเองให้รู้ตัวว่า ต้องพูดต้องแสดงถึงภูมิปัญญาของตนเองอย่างไร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วยข้อมูลอะไร และบางครั้งการเงียบของผู้เรียนนั่นก็คือการยอมรับโดยปริยายว่าไม่มีการเตรียมการหรือมีความพร้อมในการนำเสนอนั่นเอง
คิดดีและคิดตาม : ที่สำคัญที่อยากแจ้งให้ทราบทั่วกันก็คือการประเมินผลวิชานี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ในกิจกรรมนี้ก็คือสิ่งที่คุณได้เกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการเรียนแบบการเรียนรู้ จากการทำงานจริง(Design work-based learning) ณ เพลานี้แล้วว่า คุณได้เรียนรู้ด้วยตัวคุณเองว่าต่อไปจะเข้ากลุ่มกับใคร หรือเลือกใครเป็นเพื่อนเพื่อร่วมทำงานจริงในวิชาชีพที่เรียนนี้ ประสบการณ์ครั้งนี้ได้แก่ตัวคุณเอง นั่นคือสิ่งที่อาจารย์ต้องการให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งล้มเหลว(เป็นส่วนใหญ่วันนี้)และประสบความสำเร็จเป็นบางกลุ่ม นักศึกษาลองดูภาพถ่ายที่บันทึกหรือบันทึกคะแนนของตนซิครับ บางคนเข้ามาดูและชื่นชมผลงานตนเองที่ทำ หมั่นแวะเวียนเข้ามาดูสิ่งที่อาจารย์ได้สร้าง-บันทึกหลักฐานโปรไฟล์ให้แก่ศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ลึกๆแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ผู้ดูผู้รู้เขาที่เห็นภาพบรรยากาศ เห็นสายตาและรอยยิ้ม ความอิ่มเอิบของเจ้าของผลงาน ก็ย่อมทราบความหมายเองด้วยวิจารณญานว่าได้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ใน กิจกรรมนี้อย่างไร เป็นผลสรุปของแต่ละคน และเกิดอย่างไรนั้นอาจารย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน แต่มั่นใจว่าทุกคนได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์จัดกิจกรรมครั้งนี้ให้แล้ว
คิดไม่ดี มีอคติ : "ประจานงานนี่หว่า", "Drop (Withdraw)ดีกว่า" " ไม่เห็นสอนอะไรเลย"
ความจริงที่ปรากฏ จะแจ้งให้เห็นจริงอยู่ในบล็อกของตนเองเป็นรายละเอียดในภาระงานของแต่ละคน เป็นข้อตกลงในการเขียน Weekly Blogging ที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องบันทึกประสบการณ์และสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นส่วนตัว เพื่อให้อาจารย์ได้ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ตามข้อตกลงที่ได้แจ้งไว้แล้ว ซึ่งความจริงนี้เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนที่จะบันทึกผลสัมฤทธิ์และประสบการณ์การเรียนรู้ วิธีการทำงานตามหลักการที่อาจารย์สอบและแสดงหลักฐานตามที่เป็นจริงเอาไว้ ความจริงแห่งหลักฐานการบันทึกสรุปผลการเรียนรู้ของตนเองนี้ไม่มีใครแย่งของเราเอาไว้ได้ ซึ่งวิธีการสร้าง-แสดงร่องรอยแห่งการรักษาสิทธิ์ในผลงานของตนเอง อาจารย์ก็สอนให้ไปแล้ว หากคุณไม่นำไปปฏิบัติก็เป็นความล้มเหลวของตัวคุณเอง ลองดูบล็อกของอาจารย์ซิครับว่า อาจารย์แสดงสิทธิ์แห่งตนและให้เกียรติการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นไว้อย่างไร และหากเห็นว่าแนวทางที่อาจารย์สอนไว้คือสิ่งที่ดี ก็นำไปปฏิบัติพัฒนาให้ดีกว่า สร้างโปรไฟล์ให้ปรากฏว่าคุณได้รู้จริงทำจริงออกมาอย่างไร มิใช่มีแต่ภาพไม่มีเนื้อหาสาระอรรถาธิบายใดๆ และสิ่งที่คุณเองได้คัดเลือกแสดงต่อสาธารณะไว้นี้นั้น ก็คือผลรวมของการสรุปกิืจกรรมที่เรียนรู้จริงแสดงหลักฐานต่างๆเป็นของตนเองเฉพาะ และนั่นก็คือหลักฐานแสดงสิ่งที่ตนเองได้เกิดสติปัญญาและเกิดทักษะ เมื่อมีการแบ่งปันสู่สาธารณะ เปิดเผยความจริงที่สามารถเข้าถึง เข้าใจและชี้แจงได้อย่างมีประโยชน์แล้ว ก็คือสิ่งที่ตัวผู้สร้างสรรค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความอิ่มเอิบ เป็นความสุขที่ตนเองได้รับ ซึ่งอาจารย์ ผู้อื่น หรือคนรัก คนในครอบครัว ก็กำลังรอเข้าชื่นชมยินดีด้วยในวันนี้ หรือต่อไปก็คือจะเป็นอดีต เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลานั่นเอง หากทำดีถึงได้ D ก็อย่าท้อ มองให้เป็น :D (Emoticon sign) เพราะเป็นช่วงหนึ่งเวลาหนึ่งของการเีรียนรู้ในชั้นเรียน ว่านี่คือสิ่งคุณทำได้ดีที่สุดแก่งานและอุทิศเวลาให้แก่งานและตนเองแล้ว? ลองนึกย้อนเวลาอย่าโทษสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหรืออย่าพึ่งสรุปหากยังเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ค้นหาเพื่อตนเองต่อไป อย่ายอมแพ้ เพราะการพัฒนาตนเองและทักษะวิชาชีพ คือสิ่งที่มนุษย์ต้องทำไปตลอดเวลาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังคำสุภาษิตที่ว่า คบบัณฑิต บัณฑิตย่อมพาไปหาผล หากอยากเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องคบหา พบพานเพื่อนหรือผู้ที่เราเองยอมรับแล้วว่า เป็นกลุ่มหรือบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์แล้วเช่นกัน
อย่าลืมว่าการสรุปผลงานโปรไฟล์เป็นเล่มผลงานของแต่ละคนนั้นต้องส่งแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้เอาไว้ที่ในกลุ่ม issuu.com/groups/packaging จึงจะเสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนทำอย่างไรจึงจะได้ร่วมแสดงนั้นก็ลองศึกษา ปรึกษาเรียนรู้ร่วมกันดู จงรู้จักใช้งานระบบ Social Network media ให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาเรียนรู้และการรับทราบข่าวสารของตนเอง เข้าอ่านรายละเอียดและตรวจสอบความผิดพลาดของตนที่ผ่านมา ศึกษาเรียนรู้ให้รู้เท่าทันการณ์ได้ตลอดเวลา แล้วชีวาเราจะเป็นสุขและอยู่กับมันได้อย่างร่วมสมัยครับ
Do it and surrounded with creative persons today.!
คิดดีและคิดตาม : ที่สำคัญที่อยากแจ้งให้ทราบทั่วกันก็คือการประเมินผลวิชานี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ในกิจกรรมนี้ก็คือสิ่งที่คุณได้เกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการเรียนแบบการเรียนรู้ จากการทำงานจริง(Design work-based learning) ณ เพลานี้แล้วว่า คุณได้เรียนรู้ด้วยตัวคุณเองว่าต่อไปจะเข้ากลุ่มกับใคร หรือเลือกใครเป็นเพื่อนเพื่อร่วมทำงานจริงในวิชาชีพที่เรียนนี้ ประสบการณ์ครั้งนี้ได้แก่ตัวคุณเอง นั่นคือสิ่งที่อาจารย์ต้องการให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งล้มเหลว(เป็นส่วนใหญ่วันนี้)และประสบความสำเร็จเป็นบางกลุ่ม นักศึกษาลองดูภาพถ่ายที่บันทึกหรือบันทึกคะแนนของตนซิครับ บางคนเข้ามาดูและชื่นชมผลงานตนเองที่ทำ หมั่นแวะเวียนเข้ามาดูสิ่งที่อาจารย์ได้สร้าง-บันทึกหลักฐานโปรไฟล์ให้แก่ศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ลึกๆแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ผู้ดูผู้รู้เขาที่เห็นภาพบรรยากาศ เห็นสายตาและรอยยิ้ม ความอิ่มเอิบของเจ้าของผลงาน ก็ย่อมทราบความหมายเองด้วยวิจารณญานว่าได้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ใน กิจกรรมนี้อย่างไร เป็นผลสรุปของแต่ละคน และเกิดอย่างไรนั้นอาจารย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน แต่มั่นใจว่าทุกคนได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์จัดกิจกรรมครั้งนี้ให้แล้ว
คิดไม่ดี มีอคติ : "ประจานงานนี่หว่า", "Drop (Withdraw)ดีกว่า" " ไม่เห็นสอนอะไรเลย"
ความจริงที่ปรากฏ จะแจ้งให้เห็นจริงอยู่ในบล็อกของตนเองเป็นรายละเอียดในภาระงานของแต่ละคน เป็นข้อตกลงในการเขียน Weekly Blogging ที่ทุกคนทุกกลุ่มต้องบันทึกประสบการณ์และสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นส่วนตัว เพื่อให้อาจารย์ได้ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ตามข้อตกลงที่ได้แจ้งไว้แล้ว ซึ่งความจริงนี้เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนที่จะบันทึกผลสัมฤทธิ์และประสบการณ์การเรียนรู้ วิธีการทำงานตามหลักการที่อาจารย์สอบและแสดงหลักฐานตามที่เป็นจริงเอาไว้ ความจริงแห่งหลักฐานการบันทึกสรุปผลการเรียนรู้ของตนเองนี้ไม่มีใครแย่งของเราเอาไว้ได้ ซึ่งวิธีการสร้าง-แสดงร่องรอยแห่งการรักษาสิทธิ์ในผลงานของตนเอง อาจารย์ก็สอนให้ไปแล้ว หากคุณไม่นำไปปฏิบัติก็เป็นความล้มเหลวของตัวคุณเอง ลองดูบล็อกของอาจารย์ซิครับว่า อาจารย์แสดงสิทธิ์แห่งตนและให้เกียรติการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นไว้อย่างไร และหากเห็นว่าแนวทางที่อาจารย์สอนไว้คือสิ่งที่ดี ก็นำไปปฏิบัติพัฒนาให้ดีกว่า สร้างโปรไฟล์ให้ปรากฏว่าคุณได้รู้จริงทำจริงออกมาอย่างไร มิใช่มีแต่ภาพไม่มีเนื้อหาสาระอรรถาธิบายใดๆ และสิ่งที่คุณเองได้คัดเลือกแสดงต่อสาธารณะไว้นี้นั้น ก็คือผลรวมของการสรุปกิืจกรรมที่เรียนรู้จริงแสดงหลักฐานต่างๆเป็นของตนเองเฉพาะ และนั่นก็คือหลักฐานแสดงสิ่งที่ตนเองได้เกิดสติปัญญาและเกิดทักษะ เมื่อมีการแบ่งปันสู่สาธารณะ เปิดเผยความจริงที่สามารถเข้าถึง เข้าใจและชี้แจงได้อย่างมีประโยชน์แล้ว ก็คือสิ่งที่ตัวผู้สร้างสรรค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความอิ่มเอิบ เป็นความสุขที่ตนเองได้รับ ซึ่งอาจารย์ ผู้อื่น หรือคนรัก คนในครอบครัว ก็กำลังรอเข้าชื่นชมยินดีด้วยในวันนี้ หรือต่อไปก็คือจะเป็นอดีต เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลานั่นเอง หากทำดีถึงได้ D ก็อย่าท้อ มองให้เป็น :D (Emoticon sign) เพราะเป็นช่วงหนึ่งเวลาหนึ่งของการเีรียนรู้ในชั้นเรียน ว่านี่คือสิ่งคุณทำได้ดีที่สุดแก่งานและอุทิศเวลาให้แก่งานและตนเองแล้ว? ลองนึกย้อนเวลาอย่าโทษสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหรืออย่าพึ่งสรุปหากยังเรายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ค้นหาเพื่อตนเองต่อไป อย่ายอมแพ้ เพราะการพัฒนาตนเองและทักษะวิชาชีพ คือสิ่งที่มนุษย์ต้องทำไปตลอดเวลาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังคำสุภาษิตที่ว่า คบบัณฑิต บัณฑิตย่อมพาไปหาผล หากอยากเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ต้องคบหา พบพานเพื่อนหรือผู้ที่เราเองยอมรับแล้วว่า เป็นกลุ่มหรือบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์แล้วเช่นกัน
Do it and surrounded with creative persons today.!
รักศิษย์เท่าเทียมกันทุกคนครับ
Tuesday, August 2, 2011
สัปดาห์ที่ 7 วันนำเสนอผลงานและการสอบกลางภาคเรียนในวิชา arti3314,arti3319
สัปดาห์ที่ 7 วันนำเสนอผลงานและการสอบกลางภาคเรียนในวิชา arti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2554,วิชา arti3319 การสอบออนไลน์ที่ claerolinethai.info และวิชา arti3314 กลุ่ม 101 ภาคปกติวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2554 โปรเจคไทยสตาร์ 2011 กลุ่มเรียน 201 ไม่มีกลุ่มใดผ่านเกณฑ์การประเมิน เพราะไม่ส่ง ไม่เสร็จไม่ใส่ใจรับทราบเกณฑ์และ กลุ่ม 101 มีส่งเพียงกลุ่มเดียว และผ่านเกณฑ์ประเมิน แต่คุณภาพผลงานยังไม่ถึงขั้นส่งเข้าร่วมประกวด ให้ลองปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามคำแนะนำและอาจส่งเข้าประกวดเองตามเงื่อนไขของทาง ThaiStar2011
การส่งผลงานวิชาarti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบ และ 101 ภาคปกติ ให้ดูภาพบรรยากาศและสรุปกันเองก็แล้วกันนะครับว่า นักศึกษาที่เรียนแต่ละกลุ่มมีคุณภาพระดับใด เอาใจใส่แค่ไหน หากนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ทดลองฝึกปฏบัติตามข้อแนะนำและร่วมกันรับผิดชอบตามภาระงาน ตามโจทย์ ตามหลักการ 3ส:3R และ Design Process ดูตัวอย่างผลงาน ที่อาจารย์แชร์ GoogleDocs ให้ ตามอ่านบทความที่เขียนบล็อกบันทึกการสอนให้แนวทางไว้ใน blogspot และส่งยังข่าวให้ทาง GoogleBuzz ,Googleplus แล้ว ก็คงจะเริ่มเห็นคำเฉลยที่ชัดเจนขึ้นว่า Work-Based Design Learning ที่อาจารย์เน้นย้ำและติตามเอาใจใส่พวกเรามาตลอดนั้น มีความหมายและผลกรรมอย่างไรบ้าง หากใครผ่านขั้นตอนนี้ไปเรียนได้ ไม่หมดสิทธิ์สอบซะก่อน คงต้องทราบว่าจะต้องปฎิบัติตนอย่างไรจึงจะผ่านการประเมินผลตามระยะไปได้ วันพุธที่ 3 ส.ค.นี้ ยังมีอีก 2 กลุ่มเรียน คงจะเห็นอะไรที่ดีขึ้น หากมีใครเข้ามาอ่านข่าวสารนี้ก่อนถึงเวลา หากอยากจะรอเวลาหรือขอเวลาอีก ก็จัดให้ได้ในปีหน้าตามระเบียบครับ....
การส่งผลงานวิชาarti3314 กลุ่ม 201 ภาคสมทบ และ 101 ภาคปกติ ให้ดูภาพบรรยากาศและสรุปกันเองก็แล้วกันนะครับว่า นักศึกษาที่เรียนแต่ละกลุ่มมีคุณภาพระดับใด เอาใจใส่แค่ไหน หากนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ทดลองฝึกปฏบัติตามข้อแนะนำและร่วมกันรับผิดชอบตามภาระงาน ตามโจทย์ ตามหลักการ 3ส:3R และ Design Process ดูตัวอย่างผลงาน ที่อาจารย์แชร์ GoogleDocs ให้ ตามอ่านบทความที่เขียนบล็อกบันทึกการสอนให้แนวทางไว้ใน blogspot และส่งยังข่าวให้ทาง GoogleBuzz ,Googleplus แล้ว ก็คงจะเริ่มเห็นคำเฉลยที่ชัดเจนขึ้นว่า Work-Based Design Learning ที่อาจารย์เน้นย้ำและติตามเอาใจใส่พวกเรามาตลอดนั้น มีความหมายและผลกรรมอย่างไรบ้าง หากใครผ่านขั้นตอนนี้ไปเรียนได้ ไม่หมดสิทธิ์สอบซะก่อน คงต้องทราบว่าจะต้องปฎิบัติตนอย่างไรจึงจะผ่านการประเมินผลตามระยะไปได้ วันพุธที่ 3 ส.ค.นี้ ยังมีอีก 2 กลุ่มเรียน คงจะเห็นอะไรที่ดีขึ้น หากมีใครเข้ามาอ่านข่าวสารนี้ก่อนถึงเวลา หากอยากจะรอเวลาหรือขอเวลาอีก ก็จัดให้ได้ในปีหน้าตามระเบียบครับ....
Subscribe to:
Posts (Atom)